วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

อ้างอิง

1.http://fangdailypost.blogspot.com/2013/12/blog-post.html

2.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87#.E0.B8.AA.E0.B8.A0.E0.B8.B2.E0.B8.9E.E0.B8.A0.E0.B8.B9.E0.B8.A1.E0.B8.B4.E0.B8.AD.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A8

3.http://www.skyscanner.co.th/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94

4.http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangmai/fanghotspring.html

5.http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangmai/doiphahompok.html

6.http://lingkingkong-kingkong.blogspot.com/2010/01/blog-post_26.html

7.http://piknikkannika.blogspot.com/

อาหารพื้นเมืองของคนอำเภอฝาง

อาหารภาคเหนือ






                     
                ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดิดแดนแห่งประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น และคนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากภาคอื่น ๆ ประกอบความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัด   การรับประทานอาหารของคนภาค เหนือนั้น จะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่าขันโตก แทนโต๊ะอาหารโดยสมาชิกในบ้านจะนั่งล้อมวงกัน
อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสม เช่น ความหวานจากผัก จากปลา
จากมะเขือส้มเป็นต้น

   อาหารที่คนภาคเหนือนิยมใช้กินแนม หรือกินเคียงกับอย่างอื่น เช่น
    หน้าปอง คือการเอาหนังควายมาเผาไฟ แล้วแช่น้ำขูดเอาสส่วนที่ดำ ๆ ออก ตัดส่วนที่แแข็งทิ้ง ตากแดดให้แห้ง นำแผ่นหนังไปปิ้งไฟ ให้อ่อนตัว นำไปต้ม 3 วัน โดยใช้ไฟอ่อนๆจนมีสีเหลืองๆ
    น้ำหนัง คือ เอาหนังควายเผาไฟจนไหม้ดำ แช่น้ำในโอ่ง แล้วขูดส่วนที่ไม่ออก นำไปต้มในปี๊บโดยขัดแตะตากปี๊บไว้ ต้มไปจนหนังละลายเป็นน้ำข้นๆ กรองกระชอนไม้ไผ่ นำไปละเลงบางๆ บนกาบไม้ไผ่ หรือจะผสมงาก่อนละเลงก็ได้
    แคบหมู  นำหนังหมูมากรีดมันออก ในเหลือติดนิดหน่อย เคล้ากับเกลือ ผื่งแดดให้น้ำมันแห้ง ตัดเป็นชิ้นเล็ก นำไปเคี้ยวกับน้ำมันในกระทะ พอหนังพองเป็นเม็ดเล็กๆเอาไปทอดในน้ำมันร้อนจัด
   ไข่มดส้ม คือการเอาไข่มดแดงไปดองกับเกลือ แล้วนำมายำแกง การดองไข่มดส้มโดยใช้ไข่มด 1 ถ้วย ดองกับเกลือ 2 ช้อนชา
   เครื่องปรุงรสในอาหารเหนือ
   ปลาร้า คือการหมักปลากับเกลือจนเป็นปลาร้า
   น้ำปู๋ คือการเอาปูนาตัวเล็กๆ มาโขลก แล้วนำไปเคี้ยว กรองเอาแต่น้ำ ใส่ข่า ตะไคร้ เคี้ยวต่อจนข้น น้ำปู๋จะมีสีดำ มีความเข้มพอๆกับกะปิ
   ถั่วเน่าแผ่น (ถั่วเน่าแค่บ) คือถั่วเหลืองต้ม หมักกับเกลือจนนุ่ม นำไปโม่แล้วละเลงเป็นแผ่น ตากแดดให้แห้ง ใช้แทนกะปิ
    ถั่วเน่าเมอะ คือถั่วเหลืองต้มหมักกับเกลือ ห่อใบตองให้มีกลิ่น ใช้ทำน้ำพริก
    มะแขว่น เป็นเครืองเทศทางเหนือ มีลักษณะเป็นพวงติดกัน  เม็ดกลม  เปลือกสีน้ำตาลเข้ม  กลิ่นหอม  
    มะแหลบ ลักษณะเมล็ดแบน กลิ่นหอมอ่อนกว่ามะแขว่น
ผักและเครื่องเทศทางภาคเหนือ จะเป็นผักเฉพาะถิ่น ผักบางชนิดจะคล้ายกับผักทางภาคอีสาน แต่เรียกชื่อต่างกัน ทางภาคเหนือจะมีเครื่องเทศเฉพาะคือ มะแขว่น กับมะแหล่บ อาหารภาคเหนือรสจะออกไปทางเค็มกับเผ็ด แต่ไม่เผ็ดจัด รสหวานไม่นิยม หากจะมีความหวานในอาหารบ้างก็จะได้มาจากเครื่องปรุงในอาหารนั้น ๆ ไม่นิยมใช้น้ำตาล แต่จะนิยมใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร อาการส่วนใหญ่จะผัดด้วยน้ำมัน เครื่องจิ้มก็จะเป็นน้ำพริกเป็นส่วนใหญ่ ผักที่ใช้จิ้ม ส่วนใหญ่จะเป็นผักนึ่ง
     ผักปู่ย่า ขึ้นในป่า ลักษณะเป็นพุ่ม ดอกสีเขียวอมชมพูน้ำตาล มีหนามถ้าดอกสีเหลืองจะมีรสเปรี้ยว ใช้ทำยำ นอกจากนี้ผักปู่ย่า ยังมีผักที่ขึ้นตามป่า แล้วนำมาปรุงอาหาร หรือใช้เป็นผักจิ้มอีกหลายชนิด เช่น ผักสลิดจะมีรสขม ผักห้วนหมู จะมีใบใหญ่ สีเขียวเข้ม รสขม ผักกานถึง ใบเล็ก ๆ แหลม ๆ มีรสหวาน เวลาเด็ด เด็ดเป็นยอด นอกจากนี้ยังมีผักป่าอีกหลายชนิด
นอกจากผักป่าแล้วยังมีเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่เกิดตามป่าและเก็บมารับประทาน เช่น เห็ดแดง เห็ดเผาะ ( เห็ดถอบ ) เห็ดหูหนูลัวะ คือ เห็ดหูหนู
    ผักขี้หูด ลักษณะของผักจะเป็นฝัก ขึ้นเป็นช่อ ฝักเล็กขนาด ? ซม. ยาว 7-8 ซม. ดอกสีม่วงสวย กินสดโดยจิ้มกับน้ำพริก น้ำผัก หรือ ต้ม นึ่งกินกับน้ำพริกอ่อง ผักขี้หูดเป็นผักฤดูหนาว ใบคลายใบผักกาด จะใช้เฉพาะส่วนที่เป็นฝัก รสเผ็ดเล็กน้อย แต่ถ้าต้มสุกแล้วจะหวาน
ผักกาดตอง ใบคล้ายใบพลู แต่ใบสั้นกว่า สีเขียวออกขาว กลิ่นหอมฉุน ใช้กินกับลาบ
หอมด่วน คือ ผักชี อาหารภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมโรยด้วย ผักชีหั่นฝอย
   ยี่หร่า ลักษณะใบฝอย สีเขียวเข้ม ใช้จิ้มน้ำพริก น้ำผัก น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง และใส่แกง
หยวกกล้วย จะใช้หยวกกล้วยป่า โดยใช้แกนให้มาทำแกงหรือต้มจิ้มน้ำพริก
บ่าค้อนก้อม คือ มะรุม ใช้แกงส้ม
   บ่าริดไม้ คือ ลิ้นหมา ลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 10 – 15 นิ้ว ฝักจะมีลักษณะแบน กว้าง 3 นิ้ว ต้มให้นุ่มใช้จิ้มน้ำพริก มีรสขม เป็นยาระบาย มีสีเขียวขี้ม้า
บ่าหนุน จะใช้ขนุนอ่อน โดยเด็ดเอาขนุนที่ออกลูกมากเกินไป และจำเป็นต้องเด็ดออกเสียบ้าง เพื่อจะได้ไม่แย่งอาหารกันมาก ขนุนอ่อนนี้ใช้ทำแกง หรือต้มจิ้มน้ำพริก
ดอกงิ้ว คือดอกนุ่นพันธุ์พื้นเมือง
    พริกหนุ่ม เป็นพริกทางเหนือ มีลักษณะยาวเรียว พริกหนุ่มสด จะมีสีเขียวอมเหลือง
    ดอกลิงแลว เป็นดอกเล็ก ๆ สีม่วง มีลักษณะคล้ายกล้วยไม้ที่เพิ่งแตกดอก คือเป็นปุ่มเล็ก ๆ     ปลายดอกเรียว โคนใหญ่ ตัวดอกนุ่ม ลักษณะใบจะยาวคล้ายใบหมาก มีรสหวาน ใช้ทำแกงแค หรือ แกงเลียง
    ตูน คือ คูน ต้นคล้ายต้นบอล แต่เปลือกสีเขียวนวลไม่คันเมื่อมือถูกยางคูน เนื้อตูนสีขาว เนื้อฟ่าม กินสดได้ โดยกินกับตำส้มโอ ตำมะม่วง
    ผักหระ คือ ชะอม กินได้ทั้งสดและทำให้สุก นิยมกินกับตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือ ใส่แกง เช่น แกงแค เป็นต้น
   ผักหนอก คือใบบัวบก กินสดกับน้ำพริกหรือแนม หรือกินแกล้มกับยำต่าง ๆ
   หัวปี๋ ( ปลี ) คือหัวปลี กินได้ทั้งสดและทำให้สุก เช่น กินสดจิ้มกับน้ำพริกอ่อง ทำสุก เช่น ใช้แกงกับปลาย่าง ต้มสุกจิ้มน้ำพริก ปลีกล้วยที่นิยมกินกัน คือ ปลีกล้วยน้ำว้า กับปลีกล้วยป่า
   ดอกแก ( ดอกแค ) ดอกแคที่นิยมกินกันมีสองสี คือแคขาวกบแคแดง ใช้ทำแกง หรือ ต้มจิ้มน้ำพริก ยอดแคก็กินได้
   หน่อไม้ไร่ มีลักษณะเล็กยาว มีรสขื่นและขม นิยมเอามาทำเป็นหน่อไม้ปีป นอกจากจะเก็บได้นานแล้ว ยังทำให้รสขื่นและขมของหน่อไม้คลายลง หน่อไม้ไร่ปีปนิยมทำหน่ออั่ว ยำหน่อไม้และผัด
   มะเขือส้ม คือมะเขือลูกเล็ก ๆ ที่ติดกันเป็นพวง มีรสเปรี้ยวอมหวานนิด ๆ


อาหารภาคเหนือ
ลักษณะนิสัยที่ค่อนข้างเยือกเย็น สุขุมและสุภาพเรียบร้อย นับเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาให้เห็นถึง อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นข้างเหนียวซึ่งเป็นอาหารหลัก น้ำพริกอ่อง ซึ่งดูจะไม่เผ็ดมากนัก ตลอดจนกรรมวิธีถนอมอาหารอันแยบยล ที่ออกมาในรูปแบบของ แหนม หมูยอ แคบหมู และที่เป็นพิเศษจริงๆคือ อาหารจำพวกของสด เช่น ลาบสดที่ดูเหมือนจะเป็น มรดกทางวัฒนธรรมทางอาหารของต้นตระกูลไทยที่แท้จริง รวมถึงอาหารที่ได้รับอิทธิพลจาก ชาติต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง อาทิ แกงฮังเลที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า ข้าวซอยที่ได้รับอิทธิพลจาก จีนฮ่อ นอกจากนั้นแนวทางการรับประทานอาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือยังออกมาในรูปแบบ ของขันโตก ซึ่งประกกอบด้วยอาหารหลายๆอย่างในหนึ่งสำรับ เช่น น้ำพริกอ่อง แคบหมู แกง ฮังเล ลาบ ข้าวเหนียว ไก่ชิ้นทอด โดยเฉพาะมีการประยุกต์อาหารขันโตก โดยอาจารย์ ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ นำมารับแขกบ้านแขกเมืองที่เรียกติดปากว่า "ขันโตกดินเนอร์" นั่นเอง 


อ้างอิง:http://learn.wattano.ac.th/Student/food/ngang.html

ศิลปวัฒธรรม/ประเพณีของชาวอำเภอฝาง

ศิลปวัฒนธรรม ภาคเหนือ

1.การแต่งกาย ภาคเหนือ
การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า




ตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน

2.ชนเผ่าพื้นเมือง ภาคเหนือ

2.1ชนเผ่าม้ง
ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318
ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาวบริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา
ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน

2.2ชนเผ่ากะเหรี่ยง
กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้
กล่าวถึงตำนานที่ตั้งของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ภูเขา "ทอทีปล่อก่อ" มีผู้เฒ่า "เทาะแมป่า" เป็นหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื่อสายมาจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เมื่อที่ทำกินไม่พอเทาะแมป่าจึงพาลูกหลานอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการเดินทางว่ากันว่าเทาะแมป่าเดินเร็วมากลูกหลานพากันหยุดพัก เทาะแมป่าไม่สนใจลูกหลาน พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนมาหยุดตามที่ต่างๆ แถบแถวลุ่มน้ำสาละวินบ้าง ลุ่มน้ำอิระวดีบ้าง กระทั้งสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้มีกะเหรี่ยง อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตพม่า ตลอดจนในเขตภาคเหนือ และตะวันออกของประเทศไทย เอกสารบางชนิดระบุว่าคนกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงไต้ของประเทศจีน เมื่อถูกขับไล่หนี ลงมาตั้งหลักในระว่างกลางเขตพม่ากับมอญ ตอนหลังถูกพม่าบีบ ต้องอพยพอยู่บนภูเขา เอกสารบางชิ้นระบุว่าคนกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยล้วนมาจากพม่าทั้งสิ้น เพียงแต่ ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเข้ามาอยู่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บ้างก็ว่าในดินแดนล้านนา หรือก่อนโยนกด้วยซ้ำ นั้นหมายถึงการกำเนิดเมืองเชียงใหม่
การย้ายถิ่นฐานจากคำบอกกล่าวของ "พือ มูล บุญเป็ง" คนเฒ่า คนแก่ ได้กล่าว เล่าความเป็นมาของกะเหรี่ยงในประเทศไทย พื้นที่หลักที่กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) อาศัยอยู่ครั้งเเรกคือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยยึดอาชีพเกษตรกรรม ในการหาเลี้ยงชีพ ต่อมาในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติประมูล โครงการทำป่าสัมปทาน ณ.ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย โดยบริษัทที่ชนะการประมูล จะได้กรรมสิทธิ์การทำธุรกิจขนส่งไม้ จากตำบล แม่ยาว ออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้น บริษัทจากประเทศฝรั่งเศส หรือที่ชาวกระเหรี่ยงเรียกกันว่า บริษัท "ห้าง โบ๋ เบ๋" ได้กรรมสิทธิ์ในการทำธุรกิจสัมปทานในครั้งนั้นไป "พือ มูล บุญเป็ง" เล่าต่อว่าหลังจากที่ "ห้างโบ๋ เบ๋" เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย ปัญหาแรกที่พบคือการสื่อสาร และการทำสัมปทานไม้ในสมัยนั้น จำเป็นต้องมี ช้างควานช้างในการลากไม้ซุง หลังจากเสร็จสัมปทาน กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) ส่วนหนึ่งได้ตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านน้ำลัด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเห็นว่าเป็นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร ได้ใช้ชีวิตมาจนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทำสงครามกะเหรี่ยงได้ร่วมมือกับทหารไทย โดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ในการลำเลียง สิ่งของ เสบียง อาหาร ให้กับทหารไทยในการรบครั้งนั้น หลังสงครามมีชนพื้นเมืองย้ายถิ่นฐานกลับมามากขึ้น ทำให้ที่คับแคบแออัดขัดแย้งที่ทำมาหากิน กะเหรี่ยงส่วนหนึ่งจึงตัดสินใจออกเดินทางอีกครั้ง
กำเนิด ตำบลแม่ยาวเนื่องด้วยชนเผ่ากะเหรี่ยง มีนิสัยรักความสงบ ชอบใช้ชีวิตอย่างสันโดษ เมื่อมีประชากรหนาแน่น จึงมองหาที่ทำกินใหม่ โดยเล็งเห็นว่า ตำบลแม่ยาว ที่เคยเป็นสัมปทานเก่า เป็นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก ขณะนั้นผู้เฒ่า (เซโค่) ตุดง ธุระวร ได้เป็นผู้นำพาลูกหลาน และลูกบ้านส่วนหนึ่งย้ายขึ้นมา ตั้งหลัก ปักฐาน อยู่ที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย คำว่า แม่ยาว ตั้งขึ้นมาจากสัมปทานแม่ยาวนั้นเอง แต่ยังมีบางส่วนที่ ย้าย กระจัดกระจายออกไป ตามส่วนต่างๆ ตามแทบแถว ตำบล ทุ่งพร้าว อำเภอ แม่สรวย จังหวัดเชียงราย ยังมีส่วนที่ย้าย และอาศัยอยู่แถบแนวชายแดนของจังหวัดกาญจนบุรี ใช่ว่าจะมีเพียงเท่านี้ ทุกวันนี้ ยังมีประชากรกะเหรี่ยงอาศัยกระจัดกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย

2.3 ชนเผ่า ลีซู(ลีซอ)
ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต – พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ ๔,๐๐๐ปีที่ผ่านมาพวกตนเคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ชาวลีซู ถึงเรื่องราวการอพยพว่า ได้อพยพมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุงประเทศพม่า เข้ามาตั้งถิ่น ฐานอยู่ที่บ้านลีซูห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย และโยกย้ายไปตั้งบ้านเรือน ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก พะเยา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ แพร่และสุโขทัย ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเองลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลายกับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำนั้นอยู่ พม่า จีน

2.4 ชนเผ่าอ่าข่า



อ่าข่าเป็นชนกลุ่มๆ หนึ่ง ที่ใช้ชื่อเรียกชนกลุ่มตนเองว่าอ่าข่า ในประเทศจีนเรียกว่าฮานีหรือโวน อ่าข่าสามารถแยกศัพท์ได้ดังนี้ อ่า แปลว่าชื้น ข่า แปลว่าไกล ความหมายของคำว่าอ่าข่าคือ ห่างไกลความชื้น อ่าข่าชื่อนี้มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้าอยู่ใกล้แม่น้ำมีโรคภัยไข้เจ็บมาก และจากตำนานของอ่าข่าที่เล่าสู่รุ่นหลังมา กล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งอ่าข่าได้เสียชีวิตไปมาก เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำ ซึ่งอ่าข่าเรียกโรคนี้ว่า มี้หิ โรคนี้อาจตรงกับโรคอหิวาตกโรค หรือไข้มาลาเลียอย่างใดอย่างหนึ่ง จากตำนานและแนวความเชื่อมีผลต่อที่อยู่อาศัย อ่าข่าจึงมักอยู่ดอยสูงๆ อาศัยอยู่เฉพาะในทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่างๆ ดังนี้ ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และประเทศจีน ตามตำนานเล่าขานกันมาเดิมอ่าข่าอาศัยอยู่จีนเป็นแผ่นดินใหญ่ หรือที่อ่าข่าเรียกว่าดินแดน จ่าแตหมี่ฉ่า จากคำบอกเล่าพบว่าชนเผ่าอ่าข่าได้อพยพสู่ดินแดนต่างๆ เพราะปัญหาการเมืองในประเทศจีน สำหรับการเข้ามาสู่ประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ . ศ .2435 โดยมีเส้นทาง 2 สาย คือ สายแรกอพยพจากประเทศพม่าสู่ประเทศไทย เข้ามาครั้งแรกในเขตอำเภอแม่จัน หมู่บ้านพญาไพร ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ) โดยการนำของ หู่ลอง จูเปาะ และหู่ซ้อง จูเปาะ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ได้เข้าในเขตดอยตุง เส้นทางที่สอง ได้อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยผ่านรอยตะเข็บของประเทศพม่าและลาว เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันอ่าข่าได้กระจ่ายอยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ และคาดได้มีอ่าข่าบางส่วนได้อพยพไปอยู่จังหวัดน่าน พิษณุโลก และหลายจังหวัดของประเทศไทย เพราะไปใช้แรงงานในจังหวัดดังกล่าว อย่างไรก็ตามจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าอ่าข่าให้ความกระจ่างว่าอ่าข่าประเทศไทยส่วนมากอพยพมาจากเชียงตุงของพม่า เข้ามาและปักหลักแหล่งครั้งแรกที่บ้านดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ผู้นำรุ่นแรกที่เข้ามาในประเทศไทยคือนายแสน อุ่นเรือน ส่วนญาติพี่น้องได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านต่างๆ เช่นบ้านแสนใจพัฒนา ผาหมี และแสนเจริญเก่า


3.อาหารภาคเหนือ
ภาคเหนือ... เป็น ดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีต เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเองนอก จากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนานภาค เหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศ ไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูกละได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ ให้แก่เกษตรกร ภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้ แต่อาหารดั้งเดิม ของภาคเหนือ ก็ยังใช้พืชตามป่าเขา และพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการ ปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่โก๊ะ ข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอดีที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทนการ เก็บอาหารที่เหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัวทั่ว ๆ ไปจะมีราวไว้แขวน หอม กระเทียมคน ภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง ( จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง ) ไก่ หมู และเนื้ออาหารภาคเหนือ ไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสม ที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น
การ ทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน ( ยำขนุน ) เมื่อตำเสร็จ ก็ต้องนำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลา ที่จับจากแม่น้ำลำคลอง

4.อาชีพคนภาคเหนือ

ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น


5.การแสดงภาคเหนือ

ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนชมเดือน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)

6.ภาษาเหนือ
ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 
7 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน


8.วิถีชีวิต
คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้
คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว
ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย
ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก

อ้างอิง:http://lingkingkong-kingkong.blogspot.com/2010/01/blog-post_26.html

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอฝาง

1.ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง อยู่ในเขตอำเภอฝางตอนบนของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นหุบเขาล้อมรอบพื้นที่แอ่งตรงกลางลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยม ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ตรงกลางนี้เป็นภูเขาหินปูน แต่เมื่อถูกน้ำฝนชะล้างเป็นเวลานานจึงเป็นโพรงและยุบตัวลงเป็นแอ่งพื้นที่ราบ คำว่าอ่างขางจึงหมายถึงอ่างสี่เหลี่ยมในภาษาเหนือนั่นเอง ดอยอ่างขางตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยจากสี่เผ่า ได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ

การเตรียมตัวเดินทาง

ฤดูกาลและสภาพอากาศ ดอยอ่างขางมีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 17องศาเซลเซียส เราจึงสามารถไปเที่ยวดอยอ่างขางได้ตลอดทั้งปี ในช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงหน้าร้อนแต่ก็ไม่ร้อนจัด ส่วนดอยอ่างขางหน้าฝนถือเป็นช่วงโลว์แต่ก็ไม่หนาวมากและได้ชมหมอกสวย ช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคมเป็นช่วงไฮซีซั่นของที่นี่ เพราะมีอากาศหนาวและนักท่องเที่ยวนิยมไปดูปรากฎการณ์แม่คะนิ้งหรือน้ำค้างแข็ง
การเดินทางไปดอยอ่างขาง มีหลายวิธี วิธีที่รวดเร็วและสะดวกที่สุดคือ นั่งเครื่องบินไปลงที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง จากนั้นเช่ารถขับต่อไปยังอำเภอฝาง หรือจะนั่งรถไฟไปที่ลงที่อำเภอเมืองเชียงใหม่แล้วต่อรถประจำทางไปที่ดอยก็ได้ ด้วยระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร การเดินทางด้วยรถประจำทางจะใช้เวลาประมาณ 3 ชม. นานกว่าขับรถเองนอกจากนี้ ยังมีบริการรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพ-ฝาง-บ้านท่าตอน ขึ้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 แต่ใช้เวลาเดินทางนานประมาณ 13 ชั่วโมง มาลงที่ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง จากนั้นต่อรถสองแถวขึ้นดอย
การเดินทางในดอยอ่างขาง ถ้าจะให้สะดวกและเป็นส่วนตัวควรเช่ารถขับเที่ยวเอง แต่ควรใช้รถขนาดกลาง กำลังรถดี และมีสภาพดีเพราะเส้นทางมีความลาดชันและคดเคี้ยวบ้าง หรือจะเลือกเหมารถสองแถวนำเที่ยวจากคิวรถวัดหาดสำราญที่ปากทางขึ้นดอยก็ได้เหมือนกัน
ที่พักในดอยอ่างขาง มีหลายรูปแบบตามสไตล์ที่คุณชอบ เช่น ลานกางเต็นท์และเต็นท์ให้เช่ารวมไปถึงบ้านพักของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางซึ่งควรติดต่อจองล่วงหน้า นอกจากนี้ยังมีที่พักและรีสอร์ทเอกชนให้คุณเลือกอีกมากมายอยู่บริเวณโดยรอบดอยอ่างขาง หรือถ้าคุณจะไปเที่ยวแบบเช้าเย็นกลับแล้วไปพักโรงแรมในตัวเมืองเชียงใหม่ก็ยังได้

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อเป็นศูนย์วิจัยเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมอาชีพการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวไทยภูเขาบริเวณนี้ ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในด้านการจัดภูมิทัศน์ที่สวยงาม เช่น สวนดอกไม้พันธุ์ไม้ และผลไม้เมืองหนาวที่นำเข้าจากต่างประเทศ

สวนบ๊วย สวนท้อ

เป็นไฮไลท์ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางที่นักท่องเที่ยวนิยมมากันมากที่สุดแห่งหนึ่ง สวนบ๊วยตั้งอยู่ริมถนนก่อนถึงสโมสรอ่างขางและฝั่งตรงข้ามของโรงปลูกผัก ส่วนสวนท้อจะอยู่บริเวณหน้าสวนบอนไซ ในช่วงพฤศจิกายนดอกบ๊วยจะเริ่มออกดอกบานสะพรั่งเต็มต้นจนถึงเดือนมกราคมจึงจะเริ่มติดผล

สวนบอนไซ

อีกหนึ่งไฮไลท์ที่น่าไปชมของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสวนบอนไซไม้เมืองหนาวหลากหลายรูปแบบปลูกเรียงรายอยู่ในกระถาง ต้นไม้แคระเหล่านี้ดูแปลกตาแต่น่ารัก นอกจากนี้ภายในสวนบอนไซยังมีสวนหินธรรมชาติ พืชกินแมลง และโดมอนุรักษ์พันธ์ุพืชหายาก

อุโมงค์ดอกนางพญาเสือโคร่ง

ดอกไม้ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับดอกซากุระของประเทศญี่ปุ่น จึงนิยมเรียกอีกชื่อว่าซากุระเมืองไทย ช่วงปลายธันวาคมถึงกลางมกราคมจะเป็นช่วงที่ดอกนางพญาเสือโคร่งจะบานสะพรั่งสองฝั่งถนน ทำให้ดูคล้ายเป็นอุโมงค์ดอกไม้สีชมพูสวยงามสุดแสนโรแมนติก เส้นทางนี้จะอยู่ระหว่างทางก่อนถึงจุดกางเต็นท์ก่อนถึงสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

จุดชมวิวม่อนสน

เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกที่ได้รับความนิยมมากจากนักท่องเที่ยวที่ชอบใกล้ชิดกับธรรมชาติ และยังเป็นลานกลางเต็นท์ที่มีห้องน้ำไว้ให้บริการด้วย ตั้งอยู่ใกล้ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง

จุดชมวิวสุ่ยถัง

จุดชมวิวที่อยู่ทางไปอำเภอเชียงดาว ห่างจากด่านตรวจตรงสามแยกอ่างขางไปอีก 5 กิโลเมตร เหมาะกับการไปชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก โดยมีวิวทิวเขาอยู่ด้านหลังและวิวหมู่บ้านสุ่ยถังอยู่ด้านล่าง

จุดชมวิวขอบด้ง

อีกหนึ่งจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่คึกคักเป็นพิเศษเพราะมีร้านอาหารเปิดขายในบริเวณนี้หลายร้าน จุดชมวิวขอบด้งตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางที่จะไปหมู่บ้านขอบด้งและหมู่บ้านนอแล

จุดชมวิวสุดเขตชายแดนไทยพม่า

ตั้งอยู่ที่ฐานปฏิบัติการบ้านนอแล ซึ่งจุดนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทยและพม่า เป็นอีกหนึ่งที่ที่ไม่ควรพลาดเพราะคุณจะได้เห็นวิวทิวเขาน้อยใหญ่ไกลสุดสายตา และวิวแปลงสตอเบอร์รี่แบบขั้นบันได้ทั่วภูเขาทั้งลูก
อ้างอิง:http://www.skyscanner.co.th/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94


2.น้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง ตั้งอยู่ภายใน"อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปกเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มี ความน่าอัศจรรย์อยู่ในตัว ตรงที่เป็นบ่อน้ำพุร้อนที่เกิดขึ้นมาจากหินร้อนเหลวที่อยู่ใต้เปลือกโลก (แม็กม่า) ไหลแทรกมาตามช่องหินขึ้นมาใกล้เปลือกโลก ทำให้ชั้นหินบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเมื่อน้ำบาดาลไหลผ่านชั้นหินร้อนดังกล่าว จึงทำให้อุณหภูมิของน้ำนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดแรงดันมหาศาล และดันตัวเองผ่านรอยแยกของหินแกรนิตขึ้นมาบนพื้นผิวโลก จนเกิดเป็นน้ำพุร้อนพุ่งขึ้นมา โดยมีไอร้อน เป็นควันลอยคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งความร้อนของน้ำในบ่อน้ำพุร้อนนั้นมีความร้อนสูงประมาณ 80-100 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

สำหรับ บ่อน้ำพุร้อนฝาง มีมากมายกว่า 50 บ่อ โดยตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปรอบๆ ภายในบริเวณพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่า 10 ไร่ ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติฯ ได้พัฒนาพื้นที่ให้มีความสวยงามเข้ากับธรรมชาติ โดยทำทางเดินด้วยแนวหิน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดิน เข้าไปชมบ่อน้ำพุร้อนได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งบ่อน้ำพุร้อนบางบ่อก็มีขนาดใหญ่ บางบ่อมีขนาดเล็ก แต่ว่าจะมีบ่อใหญ่อยู่หนึ่งบ่อที่จะมี ไอน้ำพุ่งขึ้นสูงกว่า 40-50 เมตร ซึ่งสร้างความตื่นตะลึงให้กับผู้ที่ได้มาชม พร้อมกับส่งกลิ่นกำมะถันกระจายไปทั่วและก็มีบางบ่อที่มี อุณหภูมิสูงถึงขนาดสามารถต้มไข่จนสุกได้ภายในระยะเวลาแค่ 10-20 นาที ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติฯ ก็ได้จัดเป็นกิจกรรมต้มไข่ ในบ่อน้ำพุร้อนไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
ดอยผ้าห่มปก
น้ำพุร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากบ่อเหล่านี้ยังมีคุณสมบัติของแร่ธาตุที่มีคุณประโยชน์มากมาย อย่างเช่น แคลเซียม โซเดียม ซัลเฟอร์ ที่เชื่อว่ามีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคผิวหนัง และโรคไขข้ออักเสบได้ ทั้งยังช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดี เมื่อนำมาอาบซึ่งบ่อ น้ำพุร้อนฝางก็ได้ผ่านการวิเคราะห์แล้วว่ามีคุณสมบัติของแร่ธาตุดังกล่าว ที่สามารถนำมาอาบได้โดยปลอดภัย ทางอุทยานฯ ได้จัด ทำห้องอาบน้ำแร่ ห้องอบไอน้ำ และบ่อน้ำร้อนไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาอาบน้ำพุร้อน โดยตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการ อุทยานแห่งชาติฯ เล็กน้อย และทางอุทยานแห่งชาติฯ ยังได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเดินขึ้นเขา ป่าเบญจพรรณมาถึง ยังบ่อน้ำพุร้อน มีระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร
ค่าบริการอาบน้ำแร่ 
อาบน้ำแร่กลางแจ้งไม่จำกัดเวลา ผู้ใหญ่ 20 เด็ก 10
- อบไอแร่ ผู้ใหญ่ 30 เด็ก 10 บาท 
ค่าบริการห้องแช่น้ำแร่
- ค่าบริการท่านละ 50 บาท ใช้บริการ 2 ท่านขึ้นไปต่อห้อง
- ราคาเหมาห้อง ห้องละ 150 บาท ใช้บริการ 3-5 ท่าน
- ถ้าต้องการใช้บริการ 1 ห้อง ต่อ 1 คน คิดห้องละ 100 บาท
- ใช้บริการครั้งละ 30 นาที

บริการผ้าเช่า
- ผ้าถุงผืนละ 10 บาท
- กางเกงตัวละ 10 บาท
- ผ้าขนหนูผืนเล็ก 10 บาท
- ผ้าขนหนูผืนใหญ่ 15 บาท
สถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก 224 หมู่ 6 ต.โป่งน้ำร้อนอ. ฝาง จ. เชียงใหม่50110
โทรศัพท์ 053-453517 โทรสาร 05 3453 517 อีเมล doiphahompok.np@hotmail.com
โดยรถส่วนตัว 
จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 สู่อำเภอฝาง เมื่อมาถึง
อ. ฝางแล้วให้ขับไปตามถนนฝาง-ม่อนปิ่น ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนน 
รพช. 4054 สู่บ้านโป่งน้ำร้อนอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่ง 
ชาติดอยผ้าห่มปกซึ่งเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำพุร้อนฝาง 

รถประจำทาง 

รถประจำทางมีรถประจำทางปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัด และบริษัทรถร่วมเอกชน 
ระหว่างกรุงเทพ-ฝาง , เชียงใหม่-ฝาง เมื่อถึงอำเภอฝาง จะมีรถรับจ้างคอยบริการรับส่งสู่ที่
ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อีกประมาณ 10 กิโลเมตร
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง
บ่อน้ำพุร้อนฝาง

อ้างอิง:http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangmai/fanghotspring.html


3.ดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปก เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก  มีความสูง  2,285 เมตรซึ่งเป็นยอด ดอยที่สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย  บนยอดดอยจะเห็นทิวทัศน์มีจุดชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ยามเข้าและจุดชมวิว พระอาทิตย์ตกที่สวยงาม ดอยผ้าห่มปกมีหมอกปกคลุมจัดและมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีและมีลมแรง อีกหนึ่งเสน่ห์ของ ดอยฟ้าห่มปก คือมีพืชพันธุ์และสัตว์ป่าหายากและที่น่าสนใจนานาชนิด อาทิ เทียนหาง บัวทอง ผีเสื้อไกเซอร์อิมพิเรียล ผีเสื้อมรกตผ้าห่มปก ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง และนกปีกแพรสีม่วง เป็นต้น
ดอยผ้าห่มปก
การเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยสูงสุดของดอยผ้าห่มปกต้องเดินเท้าขึ้นไปเท่านั้น ระยะจากจุดกางเต้นท์ระยะทาง 3.5 ก.ม.  ใช้เวลาเดินทางไปกลับ 3-4 ช.ม. เพราะฉะนั้นต้องฟิตร่างกายมาให้พร้อมเตรียมน้ำไปด้วย เส้นทางในช่วงแรกค่อนข้างชันและตลอดเส้นทางขึ้นๆลงๆ ตลอดแต่ชันน้อยกว่าช่วงแรก  สามารถติดต่อคนนำทางได้ที่ทำการอุทยานของลานกางเต้นท์กิ่วลม ค่าคนนำทางคนละ 300 บาท แต่สำหรับใครที่ไม่ต้องการพิชิตยอดดอย สามารถชมวิวและบรรยากาศบริเวณลานกางเต้นท์ได้ซึ่งมีทะเลหมอกให้เห็นแต่อาจมีต้นไม้ปกคลุมบ้างไม่สามารถเห็น ได้ชัดเจนเหมือนอยู่บนยอดดอย
วิวระหว่างทางขึ้นจุดกางเต้นท์
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
บรรยากาศพระอาทิตย์ตก ณ จุดกางเต้นท์กิ่วลม
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ยอดสูงสุดดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
เส้นทางขึ้นยอดดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
สถานที่พักแรม 
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมวิวบนดอยผ้าห่มปก มีที่พักแบบเต้นท์เพียงอย่างเดียว คือ บนลานกางเต้นท์กิ่วลม โดยสามารถเช่า เต้นท์ของอุทยานฯพร้อมเครื่องนอน หรืออาจนำเต้นท์มาเองเสียค่าบำรุงสถานที่ บนยอดกิ่วลมไม่มีร้านอาหารนักท่องเที่ยวต้อง เตรียมอาหารและน้ำดื่มมาเอง  มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำให้บริการ
สถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก 224 หมู่ 6 ต.โป่งน้ำร้อนอ. ฝางจ. เชียงใหม่50110
โทรศัพท์ 053-453517 โทรสาร 05 3453 517 อีเมล doiphahompok.np@hotmail.com
ลานกางเต้นท์กิ่วลม
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
ดอยผ้าห่มปกดอยผ้าห่มปก
โดยรถส่วนตัว 
จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่ - ฝาง) ถึงอำเภอฝางแล้วไปตามถนนฝาง - ม่อนปิ่น ประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. 4054 อีก ประมาณ 8 กิโลเมตร จะถึงบริเวณบ่อน้ำร้อนฝาง ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก รวมระยะทางจากเชียงใหม่ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จากเชียงใหม่-ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ประมาณ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที

สำหรับเส้นทางไปดอยผ้าห่มปกนั้น ควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ตามถนนสายฝาง – บ้านห้วยบอน ไปจนถึงบ้านห้วยบอน แล้วตรงไปตามถนนลูกรังอีก 5 กิโลเมตร และแยกขวาอีกประมาณ 17 กิโลเมตร จะถึงหน่วยจัดการต้นน้ำดอยผาหลวงและแยกซ้ายประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งแคมป์พักแรมกิ่วลม หากใครไม่มีรถสามารถใช้บริการรถเช่าขึ้นดอยผ้าห่มปกจากที่ทำการอุทยานฯ ค่าบริการรับ 1800 บาท หากเกิน 8 คน เพิ่มคนละ 200 ติดต่อโทร 085 447 5810

รถประจำทาง 
รถประจำทางมีรถประจำทางปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัด และบริษัทรถร่วมเอกชน ระหว่างกรุงเทพ-ฝาง , เชียงใหม่-ฝาง เมื่อถึงอำเภอฝาง จะมีรถรับจ้างคอยบริการรับส่งสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อีกประมาณ 10 กิโลเมตร หรือจะให้รถเช่าขึ้นดอยห่มปกตามเบอร์ที่ให้ไว้ให้มารับที่จุดนัดพบที่สะดวกก็ได้
อ้างอิง:http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangmai/doiphahompok.html