วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาของอำเภอฝาง

ประวัติความเป็นมา ของอำเภอฝาง
ก่อนจะมาเป็นอำเภอฝาง  เป็นอำเภอในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงใหม่ ในตำนานโยนกกล่าวไว้ว่า เมืองฝาง ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ ..1184 โดยเจ้าลวจังกราช เป็นหัวเมืองทางตอนเหนือของล้านนา  ในสมัยพระเจ้ามังรายมหาราชทรงเสด็จมาปกครองที่นี่  ก่อนที่จะเข้าตีเมืองหริภูญชัย  และสร้างเวียงกุมกาม  และเมืองเชียงใหม่ในเวลา ต่อมา  ในสมัยพระเจ้าฝางพระนางสามผิวทรงรวมไพร่พลต่อต้านพม่าอย่างเข้มแข็ง  จนสร้างเกียรติประวัติจนเป็นที่กล่าวถึงของราษฎรมาจนถึงปัจจุบัน  ฝาง มีภูมิประเทศเหมาะสม มีแม่น้ำฝางสามารถหล่อเลี้ยงเมืองได้   เมืองฝางมี สัณฐานคล้ายดังฝักไม้ฝาง จึงให้ชื่อว่า เมืองฝาง
       
อำเภอฝาง ได้มีการสร้างที่ว่าการอำเภอฝางขึ้นครั้งแรกเมื่อวัน ที่ 15 เมษายน 2488 และปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอฝางขึ้น ใหม่ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540  โดยยังคงเก็บรักษาอาคารที่ว่าการอำเภอฝาง หลังเก่าไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมอันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงเสด็จเยี่ยมราษฎร    อาคาร แห่งนี้เมื่อปีพุทธศักราช  2501 
ในการเรียบเรียงประวัติและเรื่องราวของเมืองฝางนับตั้งแต่อดีตกาลเป็นเรื่องค่อนข้างยาก ด้วยเหตุเป็นเมืองเก่าแก่โบราณ และไม่มีตำนานหรือพงศาวดารที่เอ่ยถึงเมืองนี้ อย่างชัดเจน เป็นเรื่องราว โดยเฉพาะเลยแม้จะมีผู้เขียนเรื่องราว เกี่ยวกับเมืองฝางไว้บ้าง ก็มีเฉพาะบางตอนและแทรกไว้ในตำนานอื่น เช่นในตำนาน เมืองเชียงใหม่บ้าง ในพงศาวดารโยนกบ้างฯ เป็นต้น แม้แต่นิยายปรำปรา เรื่องพระนางสามผิวที่เล่าสืบๆกันมานาน ก็ปราศจากหลักฐานอันใด ที่จะชี้ชัดลงไปว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ในยุคใดสมัยใด
การที่เรียบเรียงเรื่องของเมืองฝางในอดีตกาลก็ได้อาศัยค้นคว้ามากจากหนังสือบางเล่ม และจากพงศาวดารบ้าง แล้วนำมาเรียบเรียงลำดับยุคสมัยขึ้น ให้ต่อเนื่องกันตั้งแต่โบราณ มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เป็นแนวทางโดยสังเขป จะให้ละเอียดจริงๆ นั้น ยากด้วยเหตุดังกล่าว และประกอบกับ ไม่มีหนังสือให้อ่าน ศึกษา ค้นคว้าได้มากนัก จึงได้ทำไปเท่าที่จะทำได้ ด้วยความต้องการ จะให้มีเอกสารสักเล่ม พอจะทำให้ผู้อ่านได้รู้เรื่องราว ตั้งแต่อดีตของเมืองฝาง และด้วยความคิดที่ว่า คนที่อยู่ในเมืองฝาง ควรจะรู้เรื่องไว้ เพื่อจะหาแนวทางศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม จึงได้กล้าทำขึ้นมา


การจะศึกษาเรื่องราว หรือประวัติของเมืองฝาง ในอดีตกาล ลงมาจนถึงปัจจุบันนี้ ให้ได้รายละเอียด ติดต่อกันจนเป็นเรื่องที่ชัดเจนนั้น ทำได้ยาก เพราะแม้เมืองฝาง จะเป็นเมืองเก่าแก่ โบราณ อายุนับพันปีก็ตาม แต่ขาดหลักฐานเป็นบันทึก จดหมายเหตุ ตำนานของเมืองฝาง โดยเฉพาะ นักประวัติศาสตร์ หรือนักพงศาวดารรุ่นหลังๆ ต่อมาก็อาศัยศึกษา จากตำนานเมืองอื่นๆ ที่กล่าวถึงเมืองฝางไว้ เพียงเฉพาะ ที่มีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกันเท่านั้น หากไม่มีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกัน ก็ไม่ได้กล่าวถึงไว้เลย

เรื่องตำนานหรือเหตุการณ์ของบ้านเมือง กษัตริย์ไทยในแคว้นต่างๆ นับตั้งแต่กรุงสุโขทัยขึ้นไป จนถึงสมัยอาณาจักรอ้ายลาวตอนปลาย หรือไทยสมัยอาณาจักรแคว้นเชียงลาวก็ดี แว่นแคว้นยวนเชียงก็ดี ไม่ได้ทำจารึก หรือจดหมายเหตุใดๆ ไว้แน่นอน ในตำนานต่างๆ ที่มีไว้ก็ล้วนเป็นบันทึก ที่รจนาขึ้นในตอนหลังๆ ที่ชาวไทยเริ่มมีอักษรใช้ และบันทึกไว้ตามคำบอกเล่า ที่สืบต่อๆ กันมาแต่โบราณ เป็นเวลาที่ห่างกันมาก คนเล่า คนบันทึก ก็อาจจะหลงลืมไม่แม่นยำ เรื่องที่เล่าจึงลางเลือน เล่าเรื่องไม่ปะติดปะต่อกัน ขาดตกบกพร่องไป เหตุการณ์หรือเรื่องเดียวกัน ก็เล่าไว้ในตำนานต่างๆแตกต่างกันไป ในการอ้างอิงเวลา เพราะผู้เล่าจะเล่าแบบนิยาย อิงประวัติพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ในความรู้สึก ประกอบกับในสมัยต้นพุทธกาล ที่ศาสนาพุทธเริ่มแผ่ขยายเข้ามาถึง ชื่อเมือง ชื่อบุคคล แม่น้ำ ภูเขา ก็ล้วนลากเชื่อมโยง เข้าไปหาภาษามคธ และอ้างชื่อเป็นชื่อในแผ่นดินชมพูทวีป ดังเช่นตำนานเมืองเชียงใหม่ ที่กล่าวไว้ในชินกาลมาลินีเป็นต้น จึงทำให้เกิดความสับสน ยากแก่การศึกษา ค้นคว้าทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
การศึกสงครามระหว่างเมืองใหญ่ หรือระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ ของชนชาติเผ่าเดียวกันและต่างเผ่าชนชาติ ก็มีส่วนทำให้เมืองต่างๆ อันเป็นบ้านเล็กเมืองน้อย ตั้งอยู่ได้ไม่นาน ต้องล่มสลายลงไปในไม่กี่ชั่วอายุคน แล้วก็กลับมีการสร้างขึ้นมาใหม่ ในแถบพื้นที่ถิ่นเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน บางครั้งชื่อก็ซ้ำกัน บางครั้งก็ใช้ชื่อใหม่ ก็เป็นส่วนหนึ่งทำให้เรื่องราวขาดตอนหายไป เพราะเรื่องประวัติของชนชาติไทยนั้น มักจะไปกล่าวถึงเรื่องประวัติของหัวหน้าชนชาติ หรือผู้นำที่มีอำนาจขึ้นมาใหม่แทนที่ผู้หมดอำนาจไป ดังนั้นบ้านเมืองใดที่หมดอำนาจ ก็ย่อมไม่ได้รับการกล่าวถึงไว้ ยกเว้นเสียแต่ยุคสุโขทัยลงมาเท่านั้น ที่ได้มีจารึกเอาไว้กล่าวถึงบ้างเท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์กันในทางการเมืองและสังคม ด้วยเหตุนี้การเรียบเรียงเรื่องราวของเมืองฝาง ซึ่งไม่ใช่เมืองใหญ่ หรือสำคัญมากนัก ในด้านประวัติศาสตร์ ยกเว้นเสียตอนหนึ่งสมัยหนึ่ง ในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช การเรียบเรียงจึงเป็นเรื่องยากพอดู จึงได้แต่อ่านและศึกษาจากพงศาวดารตำนาน ที่ท่านผู้รู้ได้เรียบเรียง และชำระสะสางไว้เป็นอย่างดี ที่พอจะเชื่อถือได้ และถูกต้องที่สุดเท่านั้นเอง

เมืองฝางจะสร้างขึ้นมาในยุคใด สมัยใด เป็นครั้งแรกที่สุดนั้น และเดิมเริ่มแรกจะตั้งอยู่  ที่ใดจริงนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนแต่ก็ยอมรับกันว่า เป็นเมืองเก่าแก่โบราณ เป็นพันปีขึ้นไป พระบริหารเทพธานี นักพงศาวดารคนสำคัญคนหนึ่ง ได้กล่าวไว้ในหนังสือพงศาวดารชาติไทย ที่ท่านได้เรียบเรียงขึ้นว่า ประมาณปี.590 ได้มีกษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง อพยพไพร่พลชาวไทยเผ่าต่างๆ มาจากอาณาจักรอ้ายลาวตอนใต้ อันมีนครปา นครเปะหง่าย หรือเพงายเป็นเมืองใหญ่ หลบลี้ภัยสงครามลงมาทางใต้จนถึงบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำละว้านที หรือแม่น้ำสาย และที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำกุกนที หรือแม่น้ำกก ก็ได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองสำหรับชาติไทยขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากอาณาจักรอ้ายลาว ที่ยังดำรงอยู่ในขณะนั้น ได้เรียกอาณาจักรที่สร้างขึ้นใหม่แห่งนี้ว่า อาณาจักรยวนเชียง (ก่อนหน้านี้ ลวะจักราช ก็ได้มาตั้งถิ่นฐาน  ที่นี้ โดยเรียกว่าแคว้นเชียงลาว ลวะจักราชนี้ มาจากแคว้นจก ในอาณาจักรอ้ายลาวตอนใต้ เช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเมืองฝาง จึงไม่กล่าวในที่นี้ แต่จะกล่าวในตอนต่อไป)


อาณาจักรยวนเชียง ได้รวมเอาเมืองเชียงลาว เข้าไว้ในอำนาจด้วย กษัตริย์ไทยพระองค์นี้ทรงพระนามว่า พระเจ้าหาญเสือ ได้สืบเชื้อพระวงศ์ปกครองอาณาจักรยวนเชียง มาหลายชั่วอายุ พระองค์ได้สร้างอาณาจักรนี้ ให้เจริญและทรงอำนาจขึ้น พระองค์ได้สร้างเมืองใหม่ๆ ขึ้นตามที่ราบลุ่มแม่น้ำสาย แม่น้ำกก เช่นเวียงแจ้ห่ม เวียงกาหลง เวียงฮ่อ และสันนิษฐานว่า คงจะสร้างเมืองฝางขึ้น ในคราวนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อพระเจ้าหาญเสือ มาตั้งอาณาจักรยวนเชียงขึ้น เมืองเชียงลาวมีมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ลวะจักราชซึ่งอพยพมาจากแคว้นจก ในอาณาจักรอ้ายลาวดังกล่าวมาตั้งไว้ ตอนที่พระเจ้าหาญเสือ อพยพลงก็มา รวมเอาเมืองเชียงลาวเดิมนี้เข้าไว้ ในอาณาจักรด้วย

ต่อมาเมื่ออาณาจักรรุ่งเรืองขึ้น ก็ย้ายเมืองเชียงลาวเดิม ไปตั้งเมืองเชียงลาวใหม่ ที่ริมฝั้งแม่น้ำโขงฝั่งขวา ดังปรากฏในพงศาวดารชาติไทยว่า เมื่อเมืองเชียงลาว อันเป็นเมืองใหญ่ ในแว่นแคว้นยวนเชียง เจริญมากขึ้น กษัตริย์พระองค์หลังๆ จึงย้ายจากที่ตั้งเดิมที่ดอยตุง มาตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำโขงฝั่งขวา ครั้งนั้นพวกจินละ (กล๋อมแผ่อำนาจอาณาจักรจากทางใต้ขึ้นมาและได้ถึงอาณาจักรโคตรบูรณ์ ไว้ในอำนาจแล้ว ชนชาติกล๋อม ก็ขึ้นมาตีเอาแว่นแคว้นยวนเชียง อันเป็นรัฐฝ่ายใต้ของอ้ายลาวพินาศไป
ครั้นในเวลาต่อมา เมืองใหม่ที่ริมแม่น้ำโขงและเมืองฝาง ถูกกล๋อมทำลายพินาศไป กล๋อมจึงสร้างเมืองสุวรรณโคมคำขึ้น ที่ซากเมืองเชียงลาวใหม่ และ พาหิระเสนากล๋อม ก็สร้างเมืองอุมงคเสลาขึ้น  ที่ซากเก่าเมืองฝาง และได้สันนิษฐานว่า “เมืองฝาง คงจะเป็นเมืองรุ่นเดียวกับเวียงกาหลง ในสมัยแว่นแคว้นยวงเชียง ด้วยเหตุเป็นเมืองด่านสำคัญ มีภูเขาล้อมรอบเป็นกำแพงธรรมชาติ ขอมจึงสามารถตั้งอยู่เป็นอิสระ ดังเหมือนเป็นประเทศหนึ่งได้ช้านานตั้งแต่ราว ..1100 จนถึง 1599
เราต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า ก่อนที่พระเจ้าหาญเสือจะอพยพไพร่พลลงมา ตั้งแต่แว่นแคว้นยวนเชียงนั้น  บริเวณดินแดนแถบนี้คือ ลุ่มแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำโขง ได้เคยมีอาณาจักรแว่นแคว้นหนึ่งมาก่อน คืออาณาจักรเชียงลาวซึ่งประมาณปี .50 ได้มีเชื้อวงศ์เจ้าผู้ครองนครแคว้นจก ในอาณาจักอ้ายลาวตอนใต้เช่นเดียวกัน ได้อพยพไพร่พล มาตั้งอาณาจักรเชียงลาวขึ้น เชื้อพระวงศ์เจ้าผู้ครองนครแคว้นจกนั้น มีพระนามว่า ลาวจักราช ตำนานบางฉบับเรียกว่า ละวะจักราช บางฉบับเรียกว่า ลาวจักรเทวราช เป็นคนไทยจากแคว้นจกในอ้ายลาว เมื่อมาตั้งเมืองเชียงลาว และอาณาจักรเชียงลาวแล้ว ก็ยังคงอยู่ในอาณาจักรอ้ายลาวใต้อยู่ เมื่อกาลเวลาผ่านไป กล๋อมก็มีอำนาจขึ้น มีอิทธิพลเหนือชีวิตคนไทยในถิ่นนี้ ครั้นประมาณปี .590 พระเจ้าหาญเสือ อพยพไพรพลลงมาอีกครั้งหนึ่ง ก็มาตั้งเมืองใหม่  ถิ่นเดียวกันนี้ คืออาณาจักรยวนเชียง จึงรวมเอาเมืองเชียงลาวเข้าไว้ด้วยกันได้ เพราะสาเหตุเป็นไทยด้วยกัน และ พวกอพยพมาอยู่ก่อนจึงพอใจเข้าด้วย
การตั้งอาณาจักรครั้งที่สองนี้ อยู่ได้มาช้านาน กล๋อมก็กลับมีอำนาจขึ้นอีก จนถึงกับเสียเมืองและแว่นแคว้นแก่กล๋อมอีกและกล๋อมก็ได้สร้างเมืองสุวรรณโคมคำ และอุมงคเสลาขึ้น  ที่ซากเก่าเมืองเชียงลาวใหม่ กับที่ซากเก่าเมืองฝาง ดังกล่าวไว้ตอนต้น มาถึงตอนนี้ เราพอจะสรุปได้จากการศึกษา ค้นคว้าพงศาวดารชาติไทย ของพระบริหารเทพธานีว่าเมืองฝางคงได้ตั้งขึ้นมา ตั้งแต่สมัยประมาณ ปี .590 รุ่นเดียวกับเวียงกาหลง ใน .เชียงรายปัจจุบัน คงเป็นเมืองตั้งมาแต่สมัยอาณาจักรอ้ายลาวยังอยู่ แต่เป็นหัวเมืองเล็ก ในแว่นแคว้นยวนเชียง อันเป็นรัฐฝ่ายใต้ของอ้ายลาวส่วนกล๋อมที่มาตั้งเป็นอิสระ ที่ซากเก่าเมืองฝาง เรียกว่า อุมงคเสลานคร เป็นเมืองลูกหลวงของเมืองสุวรรณโคมคำ
ต่อมา สุวรรณโคมคำล่มสลายลง เมื่อเกิดอุทกภัยในแม่น้ำโขง กล๋อมอุมงคเสลานครก็เป็นเมืองใหญ่ มีอำนาจมากขึ้นจนถึงกับได้มาตีเอาเมืองโยนกนาคบุรี หรือโยนกนาคพันธ์ได้จากพระเจ้าพังคราช อันจะกล่าวต่อไป เมื่อตอนพระเจ้าสิงหนวัติ และ พระเจ้าพรหมมหาราช ระยะเวลาที่กล๋อมตั้งเมืองอุมลคเสลา ที่ซากเก่าเมืองฝาง จากประมาณปี ..1100 ถึง ประมาณปี .1599 เป็นเวลาเกือบ 500 ปี นับตั้งแต่ยึดเอา แคว้นยวนเชียงได้จากคนไทย และกษัตริย์ไทยที่สืบเชื้อวงศ์มาจากพระเจ้าหาญเสือ เท่าที่เราทราบ การสร้างนครไชยปราการ สมัยพระเจ้าพรหมมหาราชเผด็จศึกขอมเมืองอุมงคเสลาแล้ว ก็นับได้ว่า เป็นการสร้างเมืองฝางครั้งที่ 2 (ถ้านครไชยปราการอยู่  บริเวณแถบเดียวกับเมืองฝางและการสร้างเมืองฝาง ในสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช ผู้สืบเชื้อพระวงศ์จากลาวจักรเทวราช ก็จะต้องเป็นการสร้างครั้งที่ 3
ก่อนที่จะกล่าวถึงการสร้างเมืองฝางอีกต่อไป เราก็ควรทราบว่า มหาราชทั้งสองพระองค์นี้ มาจากที่ใด และแต่ละพระองค์ สืบเชื้อพระวงศ์มาจากบรรพกษัตริย์ไทยสายไหน โดยเฉพาะ พระเจ้าเม็งรายมหาราช ผู้สืบสายพระโลหิตจากลาวจักราช นักประวัติศาสตร์บางท่าน กล่าวสันนิษฐานว่าเป็นเผ่าละว้า หรือ ลั๊วะ จะใช่หรือไม่ เมื่อแคว้นยวนเชียงตกอยู่ในอำนาจของกล๋อมหรือขอมแล้ว บ้านเล็กเมืองน้อย ในแคว้นนี้ต่างตั้งเป็นอิสระแก่กัน ไม่รวมเป็นอาณาจักรหรือแคว้นเดียวกันเช่นแต่ก่อน เพราะต่างก็มีขุนนางกล๋อม มาปกครองกำกับดูแล ไม่ให้ตั้งตัวเป็นปรปักษ์คิดกบฏขึ้นได้
ต่อมา เมืองสุวรรณโคมคำ ของกล๋อมล่มสลายลงไปในแม่น้ำโขงเพราะอุทกภัย กล๋อมเมืองอุมงคเสลา ก็ยิ่งมีอำนาจกล้าแข็งขึ้น เพราะผู้คนอพยพจากสุวรรณโคมคำ มาอยู่ด้วยมากขึ้นจนมีกำลังกล้าแข็ง เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่ประมาณ..1100 เป็นต้นมา ส่วนอาณาจักรอ้ายลาวเหนือ และอ้ายลาวใต้ ในถิ่นฐานแคว้นเดิมของชนชาติไทย ในแถบบริเวณตอนใต้ของจีนปัจจุบัน ประมาณปี ..1192 พระเจ้าสีนุโล (จีนเรียกเสี่ยนหลอกษัตริย์ไทยครองราชย์อยู่ที่เมืองหนองแส แคว้นสิบสองจุไทฝั่งตะวันออกแม่น้ำคำ ได้รวบรวมเอารัฐอิสระของเผ่าไทยเข้าด้วยกัน เป็นอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่า อาณาจักรไทยเมือง หรือไทมุง
ประมาณปี ..1228 พระเจ้าแสหลวง ราชโอรสขึ้นครองราชสมบัติต่อ จนถึงปี ..1272 พระเจ้าขุนบรมหรือ พีล่อโก๊ะ ครองราชสมบัติ ก็ได้สร้างเมืองแถงขึ้นในเขตสิบสองจุไท เอาเป็นราชธานี และได้ให้ราชโอรสพระนามว่าขุนไสผง (ไชยพงษ์ไปสร้างอาณาจักรอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า ลานช้าง ในบริเวณแว่นแคว้นสุวรรณโคมคำเก่า ในประมาณปี ..1280 สำหรับอาณาจักรอ้ายลาว แคว้นไทยเมือง พระเจ้ากาลหงศ์ ราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ของพระเจ้าขุนบรม ก็ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา พระองค์ได้ทำสงครามกับจีนอย่างหนัก ครั้นหมดรัชกาลของพระองค์แล้วพระราชนัดดา ทรงพระนามว่า เจ้ายี่เมืองสูง ซึ่งเป็นโอรสขององค์รัชทายาทที่สวรรคต ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้ากาลหงส์ (เป็นประเพณีการสืบราชสมบัติ ที่พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือมกุฏราชกุมาร ถ้ามกุฏราชกุมารสวรรคตก่อนราชโอรสของมกุฏราชกุมาร ก็มีสิทธิ์ในราชบัลลังค์)
ฝ่ายกษัตริย์ไทยฝ่ายขุนบรม ที่ครองราชย์เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไทย พระราชโอรสองค์เล็กที่ประทับ  นครแสหลวงทรงพระนามว่า พระเจ้าสิงหนวัติกุมาร ก็ได้รับมอบไพร่พล จำนวนแสนครัวเรือนเศษ ให้อพยพไปสร้างอาณาจักรใหม่พระเจ้าสิงหนวัติกุมาร จึงพาไพร่พลทั้งนั้น เป็นกองทัพอพยพลงมาทางใต้ จนถึงบริเวณแถบที่ตั้งอาณาจักรแคว้นยวนเชียงแต่เดิม ก็ทรงตั้งเมืองขึ้นใหม่ เรียกว่า เมืองโยนกนาคพันธ์ ได้ทรงทำสงครามกับขอม
ชาวไทยที่อพยพมาครั้งก่อนๆ ก็มาเข้าด้วยเป็นอันมาก ประกอบกับขอมเอง มัวพะวงกับทำสงครามกับพวกเม็ง หรือชนชาติมอญ จึงเป็นโอกาสที่จะตั้งตัวได้ไม่ยากนัก เช่นเดียวกับการอพยพลงมาของพระเจ้าหาญเสือ และลาวจักราชในครั้งก่อน คงได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากคนไทยที่อยู่ก่อนด้วยดี ทั้งนี้เพราะสาเหตุ กำลังไพร่พลพระเจ้าสิงหนวัติกุมารมีมาก และเข้มแข็ง เห็นว่าจะต่อต้านไม่ได้ กำลังทัพไพร่พลของพระเจ้าสิงหนวัติกุมาร ก็เป็นคนเผ่าไทยด้วยกันและก็ต้องการ ที่จะปลดแอกคนไทย ให้พ้นจากอำนาจขอมอยู่แล้ว ลำพังกำลังตนเองคงสู้ขอมไม่ได้ รวมกำลังกับพระเจ้าสิงหนวัติกุมาร ย่อมดีกว่า และสามารถปลดแอกขอมได้แน่นอน



ชาวไทยที่อพยพมาครั้งนี้ มาจากราชธานีและนครใหญ่ มีอารยธรรมความเจริญรุ่งเรืองดีกว่า ได้นำความเจริญมาด้วย และประกอบกับเห็นว่า พระเจ้าสิงหนวัติกุมาร เป็นเชื้อวงศ์กษัตริย์จากราชธานีใหญ่ จึงยอมรับเอาโดยดี นี่เป็นสัญลักษณ์ของคนไทยอย่างหนึ่ง ดังปรากฏในพงศาวดารชาติไทยว่า "พระเจ้าสิงหนวัติกุมาร ระดมไพร่พลกำลังสร้างปราการพระนคร และพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานเสร็จแล้ว ก็ขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระปฐมสุริยเทพฤทัยสุวรรณบพิตร โปรดให้ หาขุนไทย อันครองบ้านเล็กเมืองน้อย ที่อยู่ใกล้เคียงทั้งหลายมาถวายบังคม พวกหัวหน้าทั้งสิ้นเหล่านั้น ก็พาบริวารมาอ่อนน้อมทั้งสิ้น ยอมขึ้นอยู่ในพระราชสมภาร เว้นแต่พวกกล๋อมเมืองอุมงคเสลา หายอมมาอ่อนน้อมไม่"
ที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นการกล่าวถึงเรื่องชนชาติไทย ตามพงศาวดารชาติไทย ของพระบริหารเทพธานี ที่ท่านได้ชำระสะสางกาลเวลาปี ..เรียบร้อยแล้วพอที่จะเชื่อถือได้ แต่เรื่องการสร้างเมืองโยนกนาคพันธ์ ที่กล่าวไว้ในตำนานโยนก กล่าวว่า "ราชกุมารองค์น้อย มีพระนามว่า สิงหนวัติกุมาร ด้วยเหตุมีกำลังมากดังราชสีห์ ราชกุมารองค์นี้ ได้พาบริวารเป้นจำนวนแสนครัว ออกจากเมืองนครไทยเทศราชคหะ (เมืองนครแสหลวงในเดือนอาสาฬมาส ขึ้น ค่ำ วันพุธ ข้ามแม่น้ำสารยูไปหนอาคเนย์ เพื่อแสวงหาภูมิประเทศอันสมควรตั้งพระนคร แต่เสด็จสัญจร รอนแรมไปโยอรัญวิถีได้สี่เดือน ถึง  วันศุกร์เดือนห้า ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ก็บรรลุถึงแม่น้ำขรนที (แม่น้ำโขงคือแม่น้ำอันเป็นแว่นแคว้น อาณารัฐแห่งเมืองสุวรรณโคมคำขอมเขต ซึ่งเป็นเมืองร้าง



สมัยนั้น มีแต่มิลักขชนชาวป่าชาติละว้าหรือลาว ตั้งเคหฐานเป็นหมู่ๆ ตามแนวเขตภูเขา มีหัวหน้าเรียกว่า ปู่เจ้าลาวจกคือมีจอบขุดดินมากกว่า 500 เล่ม สำหรับแจกจ่ายให้บริวารเช่ายืมทำไร่ และกล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า "ล่วงมาได้ 3ปี แต่สร้างพระนครแล้ว พระเจ้าสิงหนวัติกุมาร ก็ยกพลโยธาไปผจญด้วยชามขอมๆ สู้รบต้านทานไม่ได้แตกแพ้พ่าย ก็ตีเอาเมืองอุมงคเสลาได้ เมืองนี้ตั้งอยู่หนหรดี ปลายแม่น้ำกก ข้อความที่กล่าวถึงเมืองอุมงคเสลานี้ ว่าตั้งอยู่ปลายแม่น้ำกก (ต้นน้ำอยู่ในเขตแดนรัฐเงี้ยวปัจจุบัน สหภาพพม่า - ผู้เรียบเรียงก็น่าจะเป็นพื้นที่ในบริเวณท้องที่อำเภอฝาง แม่อายได้ ก่อนนั้น เป็นเมือง หรืออำเภอเดียวกัน และข้อความที่กล่าวถึง เมืองอุมงคเสลาตอนก่อน ที่กล่าวว่าเป็นเมือง มีภูเขาเป็นแพงธรรมชาติ ก็น่าจะเป็นเขตท้องที่อำเภอฝาง แม่อายได้

ถ้ามองดูลักษณะประเทศ จะเห็นทิวเขาล้อมรอบมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะ เป็นที่น่าคิดและสันนิษฐานว่า เมื่อพระเจ้าสิงหนวัติตีได้เมืองนี้แล้ว ก็น่าจะตั้งเมืองขึ้น  ที่บริเวณเมืองนี้อีก แต่ก็ไม่สามารถทราบชื่อได้ หรืออาจจะกลับไปใช้ชื่อเมืองฝางอีกตามเดิม เพราะโรรมดาคงจะไม่ทิ้ง ว่างเป็นเมืองร้างแน่นอน
อาณาจักโยนกนาคพันธ์เวลานั้น แผ่อาณาเขตไปกว้างขวางมาก ตามตำนานโยนกกล่าวไว้ว่า ทิศตะวันออกไปจรดแดนล้านช้างตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำคงหรือสาละวิน ทิศเหนือจรดแดนอ้ายลาว ทิศไต้จรดแดนแม่น้ำระมิงค์ อันเป็นเขตแดนละวะรัฐมหานคร คือละโว้รัฐ พระเจ้าสิงหนวัติกุมาร เป็นปฐมกษัตริย์ไทยที่ครองโยนกนาคพันธ์ พระองค์เสด็จเสวยราชสมบัติประมาณปี ..1316 ได้สืบสันตติวงศ์ต่อๆ กันมานานจนถึง 27 พระองค์ ก็ลุถึงรัชสมัยพระเจ้าพังคราชประมาณปี ..1580 พวกขอมเมืองอุมงคเสลา กลับมีอำนาจกล้าแข็งขึ้น ก็ยกทัพไพร่พลไปตีเอาเมืองโยนกนาคพันธ์ได้ พระเจ้าพังคราชต้องเสด็จหนีไปอยู่  เมืองสีทวง และยอมอยู่ใต้อำนาจขอม (เมืองสี่ตวงจนกระทั่งต่อมาพระเจ้าพรหมมหาราช ได้กู้อิสระภาพชนชาติไทยสำเร็จ และปราบขอมพ่ายแพ้ ทรงขับไล่ขอมไป จนถึงเขตแดนเมืองเฉลี่ยง และกำแพงเพชรในปัจจุบันนี้
ซึ่ง ในสมัยนั้น เป็นดินแดนในอาณารัฐละโว้อยู่ และดินแดนตอนเหนือเป็นอาณารัฐมหารัฐหริภุญชัย (พระนางจามเทวีเสด็จมาครองเมืองหริภุญชัย ในปี ..1197 ซึ่งเป็นระยะเวลาไล่เลี่ยกับ ขุนหลวงสีนุโลรวบรวมเอา 6 รัฐอิสระในอ้ายลาวเป็นอาณาจักรเดียวกันได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดก่อนพระเจ้าพรหมขับขอมประมาณ 400 ปี )เมื่อปราบขอมเมืองอุมงคเสลาได้แล้ว พระเจ้าพรหมกุมารก็ทรงสร้างนครไชยปราการขึ้น  ที่บริเวณเมืองอุมงคเสลาเก่าของขอม ก็คือบริเวณเก่าของเมืองฝางนั่นเอง ปรากฏในตำนานโยนกว่า “ ฝ่ายพระเจ้าพรหมกุมารไม่ไว้ใจเชิงศึกเกราว่าจอมจะยกกลับมาอีก จึงไปสร้างเมือง  ริมแม่น้ำฝางอันไหลไปต่อแม่น้ำกกฝั่งใต้ อันเป็นต้นทางขอมที่จะยกมา ครั้นสร้างเมืองสำเร็จแล้ว ขนานนามว่าเมืองไชยปราการ สำเร็จในวันพุธขึ้นสิบห้าค่ำเดือนยี่ เมืองนั้นอยู่ห่างจากเมืองโยนกเชียงแสน ระยะทางคนเดิน วัน (6)
เมื่อพระเจ้าพังคราชสวรรคต พระเจ้าพรหมมหาราชก็ทรงครองราชสมบัติที่เมืองไชยปราการ ในสมัยนั้นอาณาจักรโยนกนาคพันธ์ มีเมืองใหญ่อยู่ เมือง ได้แก่ ไชยบุรีโยนกนครหลวง ไชยนารายณ์ ไชยปราการ และ พางคำ แต่ละนครใหญ่นี้ก็มีกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระแก่กัน แต่นับเนื่องในอาณาจักรเดียวกัน เพราะเป็นเชื้อพระวงศ์เดียวกัน แต่ละนครใหญ่มีบ้านเมืองเล็กน้อย เป็นเมืองในปกครองมากมาย แต่นครใหญ่ที่ทรงอำนาจที่สุดคือ นครไชยปราการ อันเป็นที่ประทับของพระเจ้าพรหมมหาราช ที่ทรงรับตำแหน่งประมุขอาณาจักรโยนก ฉะนั้นคนชาวฝาง แม่อาย ควรภูมิใจที่บริเวณแห่งนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งราชธานี อันโอ่อ่าเรืองอำนาจ และเป็นนครใหญ่ที่ประทับของมหาราช พระองค์หนึ่งของชาติไทย
ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าไชยศิริ พระราชโอรสก็สืบราชสมบัติต่อมา ครั้นประมาณปี..1702 กษัตริย์ไทยเมาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าเสือหาญฟ้า หรือเสือขวัญฟ้า ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองสะเทิม หรือสุธรรมาวดี คือบริเวณในอาณาจักรแสนหวี (ปัจจุบันชาวไทยใหญ่ มีความเคารพในมหาราชองค์นี้มาก ในฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ชาวไทยใหญ่ ที่ทรงพระกฤษฏานุภาพยิ่งใหญ่มหาราชเมืองสุธรรมาวดีพระองค์นี้พร้อมด้วยพระอนูชา ผู้ทรงฝีพระหัตถ์เข้มแข็งในการศึก ได้กรีฑาทัพมาตีเอานครไชยปราการ และโยนกนาคบุรีพ่ายล่มสลายไป เมืองไชยปราการ ก็ล่มสลายไปแต่คราวนั้น พระเจ้าไชยศิริได้อพยพไพล่พล หนีลงไปทางใต้ ไปถึงแว่นแคว้นแดนเฉลียง
ซึ่งต่อไปในอนาคต ก็ได้มีพระมหากษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง ที่สืบเชื้อวงศ์นี้ไปสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้น คือพระเจ้าอู่ทองฉะนั้นพระเจ้าอู่ทอง คือพระมหากษัตริย์ที่อยู่ในราชวงศ์ในนครไชยปราการนั่นเอง ฉะนั้น พระองค์เมื่อครองราชสมบัติจึงใช้พระราชวงศ์เชียงแสน การแผ่อาณาจักรไทยเมาครั้งนั้น มีส่วนดีอยู่ที่ไม่ได้ทำลายล้างเมืองใหญ่ หรือแว่นแคว้นโยนกให้สิ้นทราก เมืองใดยอมแพ้ ก็ให้อยู่ในพระบรมเดชานุภาพ ในฐานะเมืองขึ้นในอาณารัฐ ส่วนไชยปราการ และโยนกนาคบุรี เป็นเพราะกษัตริย์ผู้ครองนคร ไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์ไทยเมา จึงอพยพหนี ในพงศวดารชาติไทย ได้กล่าวว่า บรรดาประชาชนพลเมือง ที่หนีไม่ทันก็อพยพหลบเข้าป่า กระจัดพลัดพรายไป ครั้นข้าศึกยกทัพกลับ ก็พากันออกมาตั้งชุมนุมกันอยู่เป็นหมู่เหล่าเล็กๆ น้อยๆ เป็นอิสระ โดยการรวมตัวเป็นแว่นแคว้นเล็กๆ คือ
1. พวกคนไทยที่นครโยนกนาคบุรี หรือไชยบุรี ไม่มีกษัตริย์ปกครอง ก็เลือกตั้งผู้ครองนครขึ้นให้เป็นหัวหน้าปกครองเมืองสืบๆ กันตั้งเมืองขึ้นใหม่เรียกว่า เวียงปรึกษา (จะนับว่าคนไทยเรารู้จักวิธีการ เลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนฝรั่งก็คงจะได้)
2. พวกคนไทยที่เป็นไทยเผ่าแคว้นจก มาพร้อมกับลาวจักราชตั้งแต่แรก ก็ตั้งเมืองขึ้นบริเวณเชียงแสน เรียกว่าไชยบุรีเชียงแสน มีหัวหน้าปกครองชื่อ ปู่เจ้าลาวจก หรือปู่เจ้ากูบคำ ก่อนจะกล่าวถึงพระเจ้าเม็งรายมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระบรมเดชานุภาพ แห่งลานนาไทย ผู้สร้างเมืองฝางในยุคต่อมา ก็ใคร่ขอทำความเข้าใจ และกล่าวถึงราชวงศ์ลาวจักราช ตั้งแต่ต้นเสียก่อน เพราะพระเจ้าเม็งราย สืบเชื้อราชวงศ์จากลาวจักราช ได้กล่าวมาก่อนแล้วว่า ประมาณปี..50 ชนเผ่าไทยจากแคว้นจกในอาณาจักรอ้ายลาวตอนใต้ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน  แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำสายแม่น้ำกก ก่อนพระเจ้าหาญเสือ ที่อพยพในปี .590
คือชาวไทยเผ่าแคว้นจกนี้ ได้มาตั้งอาณาจักรเชียงลาวขึ้น มีเมืองเชียงลาวเป็นนครใหญ่ราชธานี แต่เป็นอาณารัฐอิสระของอาณาจักรอ้ายลาวฝ่ายใต้ ผู้นำคนไทยครั้งนั้น คือเจ้าชายไทย ในเชื้อสายเจ้าครองนครแคว้นจก โดยเรียกกันตามเชื้อวงศ์ว่า ลาวจักราชบ้าง บางตำนานเรียก ลาวะจักรราช บางตำนานเรียก ลาวจักรเทวราช พงศวดารโยนกกล่าวไว้ว่า ลาวจกเทวบุตรกับลาวจกเทวธิดา รับเทวโองการ แห่งองค์สมเด็จพระอำรินทร์ธิราชเจ้า พร้อมด้วยบริวารพันหนึ่งจุติมาจากเทวโลก ลงมายังเกตุบรรพต อันมีอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำละว้านที คือแม่น้ำสายในแว่นแคว้นนครเชียงลาว ฝูงชนทั้งมวล ก็พากันราชาภิเษก ให้เป็นใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งปวง ครอบครองราชสมบัติในเมืองไชยวรนครเชียงลาว ทรงพระนามว่า ลาวจักรเทวราช
และในประชุมพงศวดารก็กล่าวไว้ ด้วยสำนวนเก่า อันอ้างอิงสมมติเทพ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ ตามอิทธิพลของศาสนา เพราะเท่ากับว่า พระมหากษัตริย์คือองค์สมมติเทพ ได้กล่าวไว้ดังนี้ "นับแต่ศักราชใหม่เข้ากันได้ 903 ตัวว่าตั้งแต่พระเจ้าของเรานิพพานมาแล เมื่อนั้นอินทาธิราชเจ้า ก็พิจารณาดูเห็นเทวบุตรตนหนึ่ง อันมีบุญญาสมภารหากได้สร้างมาได้สมบัติในสวรรค์ชั้นฟ้าดาวดึงส์ มีอายุจักใกล้สิ้นแล้ว กล่าวว่า มาริสดูกร เจ้าตนมีบุญหาทุกข์มิได้เจ้าจงลงไปเกิดในมนุษย์โลกเมืองคน ในที่เมืองเชียงลาวที่นั้นเทอญ เมื่อนั้น จันกรเทวบุตร ก็เรียกหามายังเทวบุครเทวธิดาทั้งหลาย อันเป็นบริวารแห่งตน มีอายุใกล้สิ้นนั้น มีประมาณพันหนึ่ง ก็จุติจากฟ้าดาวดึงส์เทวโลก มาสู่มนุษย์โลกแล้วก็พาดพระองค์เงินทิพย์แต่ชั้นฟ้าลงมา ชาวเมืองทั้งหลายเห็นอัศจรรย์แห่งลาวะจะกะระกุมารตนนั้นมากนัก ฉันนั้นแลก็พร้อมกันตกแต่งเอาราชรถ แล้วก็อันเชิญขึ้นทรงราชรถ แล้วก็อุสาภิเษก ให้เป็นเจ้าใหญ่แก่ลานนาทั้งหลายนั้นแล"
อันเมืองเชียงลาวนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองเงินยาง บางทีก็เรียกว่า หิรัญนครเงินยาง บางทีก็เรียกว่า ไชยวรนครเชียงลาว พระบริหารเทพธานี ท่านได้วิเคราะห์ตำนาน ที่บันทึกไว้ทำนองอ้างอิงเทพยดา ในสวรรค์ชั้นฟ้า ตลอดพระอินทร์เอาไว้ว่า "ส่วนที่ยกย่องเป็นเทวบุตร ก็เพราะได้ลงมาจากเมืองแถนหรือเทียน คือคนไทยในอาณาจักรแถนหรือเทียนหรืออ้ายลาวนั้นเอง ในตอนต้นพุทธกาลจนถึง .282 นั้น จีนเรียกไทยว่า เทียนก๊ก คิดว่าไทยที่ออกมาจากคำจีนว่า เทียน หมายถึงฟ้าใหญ่ เหตุที่ชนอ้ายลาวใช้คำว่าไทยแทนตนเอง ก็เนื่องจากการถือว่าชาติตนนั้น เป็นชาติใหญ่ เป็นตระกูลแถน หรือเทียนซึ่งแปลว่าฟ้า ฉะนั้นคนที่มาจากแถน หรือเทียน ก็เรียกว่าไทยทั้งสิ้น คือพวกมาจากที่สว่าง สุกใส เป็นพวกฟ้า เป็นพวกขาว"



และส่วนคำว่าลาว มาจากคำว่าอ้ายลาว หรืองอ้ายลาว ซึ่งเป็นชื่อเชื้อชาติไทย อีกชื่อหนึ่ง เมื่อจะเข้าศัพท์เป็นภาษามคธ ก็ตัดคำ อ้าย หรืองอ้าย ออกเรียกสั้นๆ ว่า ลาวะ หรือ ละวะ ถ้าไม่ตัดออก ก็จะเรียกว่า อาระวี คำ จักรราช มาจากคำว่าจก คือไทยแคว้นจก หรือไทยจกที่เป็นพระราชา ฉะนั้นลาวจกเทวบุตร หรือลาวะจักราช หรือ ลาวจักรเทวราช ก็คือกษัตริย์ไทยจากแคว้นจก ในมณฑลเสฉวน ละวะ ไม่ใช่คำที่มาจากคำว่า ล๊วะ หรือละว้า เพราะล๊วะ หรือละว้า เป็นคนเผ่าชาวป่า ไม่มีวัฒนธรรมความเจริญใดๆ ที่จะก่อความคิดให้เกิดคิด จะตั้งตนเป็นกษัตริย์ได้ อย่าว่าแต่สมัยนั้นเลย แม้แต่สมัยนี้ ก็ยังคงสภาพเป็นคนชาวป่า ชาวเขาอยู่นั้นเอง หากล๊วะ เป็นชาติที่สำคัญ และเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ก็คงจะได้ฝากร่องรอยความเจริญ และอารยธรรมไว้ให้เห็นบ้าง การที่ผู้แต่งตำนานคิดคำแผลง เพราะได้แต่งตำนานขึ้นในสมัยหลัง เมื่อพุทธศตวรรษที่ 20 อันเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองในลานนา มีพระภิกษุผู้รู้ภาษามคธแตกฉาน ได้แต่งประวัติศาสตร์ลานนา ไว้เป็นภาษามคธมาก อาทิ ชินกาลมาลินี นี่เป็นเพราะไทยเรา รับอิทธิพลทางศาสนาจากอินเดีย (8) ฉะนั้น ในประมาณปี .50 เป็นอันว่า ไทยมาจากแคว้นจกพวกหนึ่ง ได้มาตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณลุ่มแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำโขงตอนเหนือเชียงแสนปัจจุบันนี้ และเรียกว่าแคว้นเชียงลาว สืบราชวงศ์จากลาวจักราช มาหลายชั่วอายุ ก็คงจะถูกขอมเข้าปกครอง เสื่อมอำนาจลง จนกระทั่งปี 590

พระเจ้าหาญเสือกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง อพยพไพล่พลมาจากอาณาจักรอ้ายลาวใต้อีก มาสมทบกันตั้งอาณาจักร์ยวนเชียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และก็คงอยู่มาอีกหลายร้อยปีขอมก็กลับมีอำนาจขึ้นอีก และเข้าปกครองดินแดนแถบนี้อีก จนกระทั่งพระเจ้าสิงหนวัติกุมาร พาไพล่พลจำนวนมากลงมาสมทบ ตั้งอาณาจักร์โยนกนาคพันธ์ขึ้นอีกครั้งและก็น่าสันนิฐานได้ว่า การที่คนชาติเดียวกัน อพยพหนีภัยสงครามนั้น ก็น่าจะคิดถึงถิ่นฐาน อันที่คนชาติเดียวกันไปตั้งอยู่ก่อน มากกว่าที่จะอพยพไปอาศัยอยู่กับชนชาติอื่น ซึ่งมีภาษาพูด ขนบธรรมเนียม จารีต เข้ากันไม่ได้ ครั้นมาถึงสมัยที่พระเจ้าสิงหนวัติกุมาร อพยพไพล่พลมาจากอาณาจักร์อ้ายลาวเหนือ คราวนี้พวกไพล่พลมีมากถึงแสนเศษ จึงสามารถเอาชนะขอมได้ และคงได้รับความช่วยเหลือจากพวกไทยพวกเดียวกัน ที่อพยพมาอยู่ก่อนเหล่านี้ เพราะเห็นว่าเป็นไทยด้วยกัน
ครั้นอาณาจักร์โยนกนาคพันธ์ ถูกถล่มด้วยแสนยานุภาพ ของกษัตริย์ไทยเมา พวกไทยเหล่านี้ก็ตั้งตัวเป็นอิสระ ตามเผ่าของตน บ้างก็อพยพไปกับกษัตริย์ผู้ครองนคร ไทยเผ่าจกที่เมืองไชยบุรีนครนครหลวง มีปู่เจ้าลาวจก หรือปู่เจ้ากูบคำ เป็นหัวหน้า ตั้งตัวเป็นผู้ปกครองเมือง ปู่เจ้าลาวจกได้สืบเชื้อวงศ์มาจนถึง ขุนลาวเคียง หรือลาวเงินเรือง ก็ได้มาครองเมืองสีทวง และได้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางขึ้นใหม่ เป็นราชธานีอีกครั้งหนึ่ง และได้สร้างเมืองฝางขึ้น เพื่อให้ลาวครัวกาวราชบุตรไปครองราชสมบัติได้สืบต่อมา จนถึงขุนลาวเม็งหรือลาวเมือง หรือลาวมิง ขุนลาวเม็งผู้นี้ ได้อภิเษกสมรสกับพระนางอั๊วมิ่งจอมเมือง หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระนางเทพคำขยาย ราชธิดาท้าวรุ้ง แก่ไชยเจ้าครองนครเชียงรุ้ง



พระนางเทพคำขยายได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า เจ้ามังราย หรือ เจ้าเม็งราย ประสูติในปี..1780 ครั้นในปี ..1803 เจ้าเม็งราย ก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ในเมืองหิรัญนครเงินยาง ซึ่งลาวเคียงพระบรมอัยกาไปสร้างไว้ ครั้นต่อมาประมาณ ปี ..1805 ก็ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้น  บริเวณเมืองไชยนารายณ์เก่าที่ร้างไป แล้วยกเอาเชียงรายเป็นราชธานี เป็นอันว่า เมืองหิรัญนครเงินยาง ก็สิ้นสุดการเป็นราชธานีตั้งแต่นั้นมา นับแต่ขุนลาวเคียงไปสร้างไว้ จนสิ้นสุดการเป็นราชธานี ประมาณ 271 ปี ครั้น ..1811 โดยประมาณพระเจ้าเม็งราย ก็ทรงสร้างบูรณเมืองฝางขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นเมืองฐานทัพ สำหรับปีตีเมืองหริภุญไชย ของพระยายีบา ดังปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์และสถานที่เที่ยวลานนาไทย ซึ่งอาจารย์ ชุ่ม  บางช้าง เรียบเรียงไว้ว่า

..1811 เสด็จจากนครเชียงราย ลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทรงสร้างเมืองขึ้น  ริมฝั่งแม่น้ำไชย ทรงตั้งนามเมืองนั้นว่า เมืองฝาง ทรงปรนปรือรี้พลอยู่  ที่นั้น (9) ในการจะยกทัพไปตีหริภุญไชย พระเจ้าเม็งราย ทรงยกทัพไปตีเอาเวียงผาแดง ซึ่งติดต่อกับเมืองพร้าว และเชียงรายก่อน ด้วยเป็นเมืองที่ตั้งหน้าด่าน ของอาณาจักรหริภุญไชย(เวียงผา?) พระเจ้าเม็งรายเสด็จประทับที่เมืองฝางระยะหนึ่ง แล้วจึงเสด็จยกทัพ ไปตีเอาหริภุญไชย ได้ด้วยความสามารถชาญฉลาด ในอุบายของอำมาตย์คนสนิท คืออ้ายฟ้า หลังจากนั้นทรงสร้างนครเชียงใหม่ขึ้น แล้วก็เสด็จมาครองราชสมบัติ ในนครเชียงใหม่ เป็นราชธานีของลานนาไทยต่อไป โดยให้เข้าขุนคราม ราชโอรสองค์กลาง ครองเชียงรายแทน ครั้นประมาณ ปี ..1860 พระองค์ก็เสด็จสวรรค์ พระยาไชยแสงคราม หรือ เจ้าขุนคราม ก็เสด็จมาครองราชสมบัติต่อไป
สำหรับเมืองฝาง ก็ให้ราชบุตรอีกองค์หนึ่งครอง ดังกล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เล่มเดียวกันนี้ว่า"พระยาไชยสงคราม ทรงกระทำพิธีราชาภิเษกขึ้น เป็นพระมหากษัตริย์ ตามโบราณราชประเพณี เสด็จจากถวายพระเพลิง พระบรมศพพระเจ้าเม็งรายแล้ว ก็ประทับอยู่ในเมืองเชียงใหม่ได้ เดือนเศษ ทรงเวนราชสมบัติให้เจ้าราชบุตรแสนภู ราชโอรสองค์ใหญ่ พระองค์ทรงเสด็จกลับ ไปครองราชที่เชียงรายตามเดิม และให้เจ้าราชบุตรน้ำท่วม ไปครองที่เมืองฝาง (10)
ในสมัยโบราณ เมืองราชประเพณีที่จะให้ราชบุตรองค์ใหญ่ สืบราชสมบัติ ให้ราชบุตรองค์รองๆ ไปครองเมืองสำคัญๆ เหตุผลกระทำเช่นนี้ อาจเป็นไปได้ว่า เพราะเป็นที่วางพระทัย ในความจงรักภักดีซื่อสัตย์ มากกว่าจะให้ผู้อื่นไปครองเมือง ซึ่งอาจจะก่อกบฎได้ง่ายๆ นอกจากนั้น จะได้มอบหมายภาระที่สำคัญๆ ในการสั่งสมเสบียง ไพล่พลให้พร้อมรบอยู่เสมอ และเวลามีศึกสงคราม ก็จะได้ยกทัพมาช่วยกัน เพราะเป็นสายโลหิตเดียวกันราชวงศ์พระเจ้าเม็งราย ได้มีเชื้อพระวงศ์สืบราชสมบัติสืบต่อกันมา ในนครเชียงใหม่อีกหลายพระองค์ ตราบจนประมาณปี



..1915 พระเจ้าคือนา ทรงเสวยเสวยราชสมบัติ ทรงสถาปนา เจ้าพรหมราช พระอนุชา ให้ไปครองเมืองฝางเชียงแสน เชียงราย ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญฝ่ายเหนือของลานนาไทย ต่อมา เจ้าพรหมราช หรือ เจ้ามหาพรหมราชพยายามชิงราชสมบัติ จากพรเจ้าแสนเมืองมา พระราชนัดดา ซึ่งเสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้ากือนา แต่ทำการไม่สำเร็จ จึงได้หนีไปสวามิภักดิ์ต่อกรุงสุโขทัย ครั้น ..1985 พรเจ้าสามฝั่งแกน ครองราชสมบัติ ในนครเชียงใหม่โปรดให้เจ้าราชบุตรสิบ (องค์ที่ 10) บางทีก็เรียกกันว่า ท้าวช้อย ราชบุตรองค์ที่ ครองเมืองพร้าว ต่อมา ท้าวลก(องค์ที่ 6) ซึ่งครองเมืองพร้าว ชิงราชสมบัติจากพระเจ้าสามฝั่งแกนได้ ทรงเนรเทศพระราชบิดา ไปอยู่เมืองนาย เจ้าท้าวช้อยผู้ครองเมืองฝาง จึงแข็งเมือง และไปรับพระราชบิดาไปอยู่เมืองนาย แต่ก็ถูกกองทัพเชียงใหม่ โดยการนำของเจ้าหมื่นด้งนคร ซึ่งเป็นเจ้าอาว์ ยกทัพมาปราบ สู้ไม่ได้ เจ้าท้าวช้อยหนีไปอยู่เมืองเทิง

เจ้าหมื่นด้งนครตามไปปราบ เจ้าท้าวช้อยตายในที่รบ ท้าวลก หรือ พระเจ้าติโลกราช สวรรคต ใน .2030 ก็ได้มีพระมาหากษัตริย์ลานนาไทย ครองราชสมบัติสืบต่อกันมาอีกหลายพระองค์ องค์สุดท้าย ในราชวงศ์เม็งราย คือพระเจ้าเมกุฏสิทธิวงศ์ หรือ ท้าว เมกุฏ เป็นเชื้อสายทางเจ้าขุนเครือ ราชโอรสองค์เล็ก ของพระเจ้าเม็งราย ที่ทรงส่งไปครองเมืองนาย ท้าวเมกุฏมีเชื้อไทยใหญ่ผสม ด้วยเหตุเจ้าขุนเครือ ไปสืบวงศ์ในเขตไทยใหญ่ ไม่กลับลานนาไทย ท้างเมกุฏถูกหมู่อำมาตย์ ในเชียงใหม่เชิญมาครองราชสมบัติ เพราะระยะนั้น หาเชื้อสายราชวงศ์เม็งราย ในนครเชียงใหม่ไม่ได้ ระยะนี้เป็นเวลาที่พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่ามีอำนาจกล้าแข็ง พระเจ้าเมกุฏสิทธิวงศ์ครองราชย์มาได้ ปี ก็ถูกกองทัพพระเจ้าบุเรง นองยกมาตีนครเชียงใหม่ได้ อาณาจักรลานนาไทยก็สิ้นสุดอิสระภาพ ต้องเป็นเมืองขึ้นของพม่ารวมเวลาที่เป็นอิสระอยู่ได้ นับตั้งแต่พระเจ้าเมงรายมหาราช มาเป็นเวลา 262 ปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าว บางครั้งเราก็ทราบพระนามเจ้าผู้ครองนครเมืองฝาง บางสมัยก็ไม่อาจทราบได้ เพราะไม่มีหมายเหตุบันทึกไว้
พระเจ้าเมกุฏสุทธิวงศ์ครองเมืองเชียงใหม่ ในฐานะประเทศราชของพม่าได้ไม่นานนัก ก็แข็งเมืองต่อพม่า พม่ายกทัพมาปราบได้เลยจับตัวไปไว้เมืองพม่า และพม่าแต่งตั้งให้นางพระยาวิสุทธิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระเมืองเกษเกล้า ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ก่อนท้าวเมกุฏ ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ และขึ้นต่อพม่าต่อไป ครั้นต่อมาพม่าได้ตั้งเชื้อวงศ์กษัตริย์พม่ามาครองเชียงใหม่ จนหมดสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ทางพม่าเกิดจราจล พระยาสุทโธธรรมราชา หรือสะโด๊ะธรรมราชากษัตริย์พม่าเมืองอังวะ มีอำนาจปราบปรามกษัตริย์ เชื้อสายบุเรงนองได้ ก็ตั้งตัวเป็นใหญ่ และยกทัพตามมาปราบเชื้อสายบุเรงนอง ในลานนาไทยต่อไป และยกทัพมาตีเมืองฝาง ในปี ..2175 ตรงกับสมัยพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยาเวลานั้น พม่าล้อมเมืองฝางอยู่ 3 ปี ก็ตีเมืองฝางแตก แล้วยกมาเชียงใหม่ต่อไป
พม่าได้แต่งตั้งแสนหลวงเรือดอน ชาวเชียงแสน ให้เป็น พระยาหลวงทิพยเนตร ครองเมืองฝาง การสงครามระหว่างเมืองฝางกับพม่าในครั้งนี้ ทำให้มีผู้เข้าใจว่า เป็นเหตุการณ์ตอนเดียวกับเรื่องพระนางสามผิว พระเจ้าฝางอุดมสิน อันเป็นนิยายปรำปรา ที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานได้แน่นอนจริงๆ แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ไม่ใช่ ด้วยเหตุผล
1. ผู้ครองนครฝางที่ได้พระนามว่า พระเจ้าฝางอุดมสิน ถ้าวิเคราะห์ตามชื่อ หมายถึงกษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มหาศาล เมืองฝางน่าจะมั่งคั่ง ประชาชนน่าจะมากมาย และน่าจะเป็นเมืองใหญ่ ทรงอำนาจจึงจะสมกับพระนามอุดมสิน เมืองฝางจะต้องเป็นเมืองใหญ่ มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยราชทรัพย์ ด้วยราชบรรณาการจากเมืองบริวาร แต่ระยะที่พระเจ้าสุทโธธรรมราชา ยกทัพมาตีเมืองฝางนั้น เมืองฝางเป็นเมืองเล็ก ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่ และพระนามผู้ครองเมืองในสมัยนั้น ก็ไม่มีผู้ใดใช้พระนามว่า "พระเจ้าอันหมายถึงกษัตริย์ยิ่งใหญ่ และเมืองเล็กๆ ขณะนั้น จะมั่งคั่งด้วยพระราชทรัพย์มหาศาล จนได้นามว่า "อุดมสินได้อย่างไร
2. ถ้าเรื่องราวของพระเจ้าฝางอุดมสิน และพระนางสามผิว เป็นเรื่องราวในสมัยพระเจ้าสุโธธรรมราชา มาตีเมืองฝางจริง เป็นเหตุการณ์ไม่กี่ร้อยปี น่าจะมีจดหมายเหตุ ตำนานไว้อย่างแน่ชัด เพราะไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เมืองขนาดมีกษัตริย์ครองเมือง เมื่อเกิดศึกสงครามก็ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ที่จะถึงกับลืมจดเรื่องราวไว้ในตำนาน ขนาดเหตุการณ์ สมัยพระเจ้าเม็งราย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ก่อนหน้าพระเจ้าสุทโธธรรมราชา ยังมีตำนานกล่าวไว้แน่นอน ไม่ใช่กล่าวแบบนิยายปรำปรา อนึ่ง ในตำนานหรือพงศาวดาร ที่กล่าวถึงพระนามว่า พระนางสามผิว ก็มีอยู่เป็นหลักฐาน ในปี..2307 ว่า "พม่าตั้งนายชายแก้ว ให้เป็นเจ้าฟ้าชายแก้ว ครองเมืองลำปาง ในปีจุลศักราช 1126 ล้อโป่ซุกแม่ทัพพม่า จึงเอานายขนานกาวิล กับนายดวงทิพ บุตรเจ้าฟ้าชายแก้ว คุมพล ชาวเมืองนครลำปาง เข้าสมทบกับกองทัพพม่า ยกไปตีเมืองเวียงจันทร์ ได้เมืองเวียงจันทร์ และธิดาเจ้าเวียงจันทร์ ชื่อ นางสามผิว ส่งไปถวายพระเจ้าอังวะเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ เท่านั้น แต่นิยาย เรื่องพระนางสามผิว ที่เล่าสืบๆ กันมาเป็นเรื่องเก่าแก่โบราณ




ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ใช่เป็นเรื่องเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าสุทโธธรรมราชา ยกทัพมาตีเมืองฝางและเชียงใหม่ และไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดกับนครเวียงจันทร์แน่นอน แต่ถ้าเป็นเรื่องจริง ต้องเป็นเรื่องเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ หลายร้อยปี ระยะเวลาที่เชียงใหม่กลับเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง ก็อยู่ในขอบขัณฑสีมา ของกรุงศรีอยุธยาบ้าง เป็นอิสระบ้าง สำหรับเมืองฝางก็ยังคงเป็นเมืองเล็กๆ ในอาณารัฐลานนาไทยอยู่ ไม่มีความสำคัญใดๆไม่มีตำนานใดๆ จะให้ศึกษาได้ชัดเจนในตอนนี้ ว่าเหตุการณ์ในเมืองฝางเป็นอย่างไร มีเจ้าผู้ครองเมืองชื่ออะไร ดูระยะนี้จะขาดหายไป จนกระทั่ง สมัยกรุงธนบุรี เป็นราชธานีอาณาจักรไทยสยาม เหตุการณ์ทางลานนาไทย ก็ได้มีการสงครามกับพม่า โดยมีคนชาวไทยลานนา พยายามกอบกู้เอกราชคืนให้ได้ ระหว่างพม่ายังคงปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ ของลานนาไทยอยู่ อาทิ เชียงแสน เชียงราย ฝางเป็นต้น ดังจารึกไว้ในพงศาวดารว่า
"อะแซหวุ่นกี้ ยกกองทัพมาตีลานนาไทย ก็ให้โป่อภัยคามินี ครองเมืองเชียงใหม่ดังเก่า แต่ให้สีหะกอยทางไปครองเมืองเชียงแสน ตั้งให้โป่เงี้ยวลอยข้าทั้งหลาย อยู่รั้งหัวเมืองต่างๆเป็นอันว่า เมืองฝางก็คงจะมีแม่ทัพนายกองพม่า คือพวกโป่เงี้ยวมาปกครองดูแลนั่นเอง ต่อมาพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกกองทัพมาตีเอาเชียงใหม่ได้จากพม่าอีกครั้งหนึ่ง พวกพม่าเลยหนีไปตั้งมั่นที่เชียงแสน ต่อมาประมาณปี ..2328 เจ้าเมืองฝางชื่อ พระยาสุรินทร์ เจ้าเมืองพร้าว เจ้าเมืองเชียงราย พร้อมใจกันกบฏต่อพม่า ซึ่งตรงกับสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และตอนนี้ เมืองฝาง ก็คงจะเป็นเมืองร้างไปอีกครั้งหนึ่ง เพราะเจ้าเมือง คือพระยาสุรินทร์ ไม่ยอมกลับมาครองเมืองฝางหนีไปอยู่นครลำปาง




ในปี ..2334 พม่าตั้งให้แม่ทัพนายกองคนหนึ่ง ชื่อ สุระจอแทงโป่ มาตั้งกองกำลังตั้งมั่นที่เมืองฝาง เพื่อเตรียมการตีลานนาไทยอีกครั้งหนึ่ง ครั้นปี ..2336 พระยากาวิละ ได้อพยพไพร่พลจำนานมาก มาจากนครลำปาง เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ เมืองเชียงใหม่ และครองเมืองเชียงใหม่ ให้เป็นหัวเมืองเอกของลานนาไทยอีก เพื่อคอยต่อสู้กับกองทัพพม่า ครั้นพม่ายกกองทัพมาจริง ก็ถูกกองทัพเชียงใหม่ ตีแตกพ่ายไป อย่างไรก็ตาม หัวเมืองฝ่ายเหนือของลานนาไทยเชียงใหม่ อันได้แก่ เชียงแสน เชียงราย ฝาง ก็ยังอยู่ในอิทธิพลของพม่าอยู่ต่อไป ..2347 กองทัพกรุงและกองทัพลานนาไทยเชียงใหม่ ได้ยกไปตีเมืองเชียงแสนได้จากพม่า จับเชลยได้เป็นอันมาก แล้วทำลายเชียงแสนเสีย ทิ้งร้างไว้ มิให้พม่าได้เข้ามาตั้งมั่นได้อีกต่อไป และเช้าใจว่า เมืองฝางก็น่าจะมีเหตุการณ์เช่นเดียวกันเกิดขึ้น หรืออาจจะถูกทิ้งร้างไปก่อนหน้านี้แล้ว ก็เป็นได้เพราะเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ ของลานนาไทย เช่นเดียวกับเชียงแสน
ข้าพเจ้าเชื่อว่า เมืองฝางต้องเป็นเมืองร้าง ด้วยเหตุผลดังกล่าวตั้งแต่ประมาณปี ..2347 เป็นต้นมา และคงจะเป็นป่ารกชัฏ และจะมีผู้คนอยู่บ้าง ก็คงจะเป็นไพร่บ้านพลเมืองที่ตกทุกข์ได้ยาก อัตคัตขาดแคลน ขัดสนไร้สติปัญญา ที่จะตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นใหม่ เพราะมิใช่เชื้อเจ้าเมือง และอาศัยอยู่ตามป่าลึก เป็นหมู่เหล่าแบบหมู่บ้านชาวป่า ไม่มีลักษณะเป็นบ้านเมืองจนกระทั่งประมาณ ปี ..2424 ซึ่งตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเวลาร่วมร้อยปีโดยประมาณ เจ้าผู้ครองนคนเชียงใหม่เวลานั้นคือ พระเจ้ากาวิโลรส ก็ให้คนสนิทสองคน ไปตั้งเมืองฝาง เพราะมีเชื้อพระวงศ์เจ้านครเชียงใหม่ ขึ้นไปล่าสัตว์ในป่าใหญ่ ไกลจากนครเชียงใหม่ โดยอาศัยช้างเป็นพาหนะ ได้ไปพบซากเมืองเก่า ทรากวัดร้าง และพระพุทธรูปสวยงามมากมาย ก็กลับไปทูลเจ้านครเชียงใหม่ให้ทรงทราบ จึงได้สอดตำนานดู ก็ทราบว่าเป็นเมืองฝาง จึงให้คนสนิททั้งสองพาไพร่พล ไปแผ้วถางที่ทางตั้งเมืองขึ้นใหม่ โดยตั้งให้คนสนิททั้งสองเป็นพระยาหลวง หรือพระยาสุริโยยส คนหนึ่ง อีกคนหนึ่งเป็นพระยาน้อย พระยาทั้งสอง ปกครองเมืองฝางได้ประมาณ 10 ปีเศษ ก็กลับเชียงใหม่ เพราะอายุชรามาก และทนต่ออากาศหนาว และไข้ป่าสัตว์ร้ายรบกวนไม่ไหว
พระเจ้ากาวิโลรสจึงได้ให้ เจ้ามหาวงษ์แม่ริม ภรรยาชื่อเจ้าแม่กัลยา เป็นเจ้าหลวงเมืองฝาง เจ้าหลวงเมืองฝางคนนี้พร้อมด้วยคนสนิทประมาณ 25 ครอบครัว เดินทางมาอยู่เมืองฝาง ร่วมกับไพร่บ้านพลเมืองที่มาคราวก่อน คนสนิทที่ติดตามมากับเจ้าหลวงเมืองฝางคนนี้ ได้แก่ พระยาพิทักษ์ ท้าวธนู และมีพระสงฆ์มาด้วย เพื่อเป็นเจ้าคณะสงฆ์คือพระเกษรปรมติกาจารย์ และพระสงฆ์อีกหลายรูป ต่อมา เจ้าหลวงมหาวงษ์ ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักด์จากกรุงเทพฯ ให้เป็นมหาอำมาตย์เอก พระยาราชวงศ์ เจ้าแก้วมุงเมือง เป็นรองอำมาตย์เอก พระยาราชบุตร ให้สังกัดกระทรวงมหาดไทย เรื่องพระเจ้ากาวิโลรส ให้คนสนิท คน คือพระยาหลวงและพระยาน้อย พาไพร่พล 300 ครัวเรือนเศษ ไปตั้งเมืองฝางนั้น เป็นเหตุการณ์ ที่พ้องกับบันทึกหมายเหตุ ของฝรั่งชาวเดนมาร์ค ชื่อ มร.คาร์ล บ๊อก นักโบราณคดี ได้เดินทางมาจากกรุงสยาม สมัยรัชกาลที่ กรุงรัตนโกสินทร์ และได้เดินทางขึ้นไปสำรวจโบราณสถานโบราณวัตถุ ตลอดจนพวกสัตว์ป่าและนก แมลงต่างๆ ในป่าภาคเหนือของประเทศไทย โดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าอยู่หัวทางกรุงเทพฯ
ในครั้งนั้น มรคาร์ลบ๊อก ซึ่งเดินทางมาพักอยู่กับพวกมิชชันนารี ในเชียงใหม่ ได้เดินทางจากเชียงใหม่ เพื่อจะไปฝางได้เดินทางโดยข้ามลำน้ำแม่ปิง มุ่งหน้าสู่ทางตะวันออก ไปสู่อำเภอสันทราย แล้วเลี้ยวทิศทางมุ่งสู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ จนเข้าสู่เจตเมืองพร้าว ต่อจากนั้นก็เดินทางมุ่งหน้าสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปเรื่อยๆ การเดินทางจากเชียงใหม่ถึงฝางครั้งนั้น อาศัยช้างเป็นพาหนะ และบรรทุกสัมภาระ เขาเดินทางข้ามห้วยเขาป่าลึก ผ่านอากาศหนาวเย็นเยือกป่าที่รกชัฏไม่เห็นแสงตะวันในบางแห่ง เขาต้องผจญกับสัตว์ร้ายหลายครั้ง จนกระทั่งข้ามลำน้ำแม่งัด ข้ามลำนำฝางเข้าสู่เขตเมืองฝาง (ซึ่งทางเดินสายนี้ ปัจจุบันปากทาง มาออกตรงหน้าวัดบ้านท่า .ปงตำ .ฝาง ) ทางสายนี้ ต้องเดินทางผ่านบ้านแม่ทะลบ แต่ก่อนเรียกแคว้นแม่ทะลบ ทางสายนี้ ขณะนี้ก็ยังมีคนใช้เดินไป .พร้าวอยู่ เขาบันทึกเหตุการณ์เดินทางของเขาไว้ดังนี้

ตอนหนึ่ง "วันรุ่งขึ้น ต้องผ่านไปในทุ่งหญ้าทั้งวัน จน โมงเย็นจึงถึงซากประตูเมืองฝาง ซึ่งเหลือแต่ชื่อเท่านั่น เมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงอันใหญ่โตของไทย ในภาคเหนือมาก่อน แต่เดี๋ยวนี้เหลือแต่ทรากสลักหักพัง กำแพงที่พังทรุดโทรม มีทรากวัด และเจดีย์อยู่บางแห่ง สถานที่อื่นๆ ก็จมดินอยู่ใต้กอ หญ้าในป่าทึบหรือชายป่า พลเมืองที่อยู่กับข้าพเจ้าไปถึง พึ่งจะมาตั้งถิ่นฐานกันอยู่ใหม่ราว 12 เดือนเท่านั้นเอง ทั้งชาย หญิง และเด็กกำลังตั้งหน้าตั้งตา ถางป่ากันอยู่ ไม่มีบ้านเรือนเลย มีแต่กระท่อมหรือเพิงพักชั่วคราว ถนนหนทางก็ยังไม่มีเช่นเดียวกันการเดินทาง ของ มร..มาร์คบ๊อก ครั้งนั้น ใช้ช้าง เขาได้พบกับพ่อค้าวัวต่าง ลาต่าง มากมายหลายพวก หลายหมู่ หมู่หนึ่งประมาณ 50 - 70 คน หรือร่วมร้อยคน เป็นอย่างต่ำ มีทั้งชายหญิง เด็ก ส่วนมากเป็นชาวเงี้ยวมาจากเมืองสาด เมืองนาย และเชียงแสน
มร.มาร์คบ๊อก ก็ได้เดินทางไปถึงท่าตอน เชียงแสน และกล่าวว่า ขณะนั้น บ้านท่าตอนมีชาวเงี้ยวอยู่ประมาณ 7หลังคาเรือนเท่านั้น เหตุการณ์ทางการเมืองของเมืองฝาง ในระยะหลัง ..1424 ซึ่งตั้งเมืองขึ้นใหม่ อีกครั้งหนึ่งนั้น มีเหตุการณ์สู้รบกันประปราย เพียงแต่เกิดกบฏ ครั้ง จากพวกชาวเงี้ยว ที่อาศัยอยู่ในตำบลต่างๆ เหตุที่เกิดเป็นเพราะเรื่องส่วนตัว ซึ่งขดคัดจากตำนานเมืองเหนือของสงวน โชติสุขรัตน์ ดังนี้
ครั้งที่ กบฏพญาผาบ เกิดในปี ..2437 เป็นกบฏพวกเงี้ยว มีกำลังไพร่พลประมาณ 500 คน พญาผาบเป็นอดีตกำนัน หรือแคว่น ตำบลม่อนปิ่น เป็นหัวหน้ากบฏ พญาผาบเข้าตีเมืองฝาง ขณะเจ้าหลวงเมืองฝาง ไปราชการที่เมืองปั่น คงมีเจ้าคำแดงบุตรชายคนที่ อยู่รักษาเมือง กับพญาอินต๊ะข้อ จึงทำกลอุบายยอมแพ้ก่อน แล้วคิดแก้ไขเอาภายหลัง พอดีกองทัพเมืองพร้าว เจ้าหลวงยกมาถึง ก็ตีกระหนาบกองทัพพวกกบฏ แตกพ่ายไป
ครั้งที่ กบฏพญาไจ (พญาไชยเกิดในปี ..2434 พวกกบฏมีกำลังประมาณ 600 คน มีพญาไจ แคว่นหรือกำนัน ตำบลแม่สาวเป็นหัวหน้า สาเหตุการกบฏคือ ขุนสึ่ง น้องชายพญาไจ ไปลักช้างของเจ้าฟ้าเมืองสาด เจ้าฟ้าเมืองสาดขอร้องให้เจ้าหลวงเมืองฝางจับ และจะไถ่ช้างคืน เจ้าหลวงก็ให้คุมตัวคนร้ายไว้ที่โรงพักตำรวจเมืองฝาง และต่อมาส่งไปเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายพญาไจ พาพวกมาปล้นโรงพักตำรวจ เพื่อช่วยเหลือน้องชาย แต่ปรากฏว่าไม่ทัน จึงโกรธ เลยพาพวกเข้าปล้นบ้านเจ้าหลวง และเกิดสู้รบกัน พวกกบฏสู้ไม่ได้ ถูกตีแตกพ่ายไป บางคนก็ถูกจับตัวได้ พญาไจเองก็ถูกจับ และเจ้าหลวงเมืองฝาง ให้นำพวกกบฏไปตัดศรีษะที่ทุ่งนา ซึ่งเรียกว่า ทุ่งหัวคนบัดนี้
ครั้งที่ กบฏส่างชื่น เกิดในปีพ..2441 ส่างชื่นเป็นชาวเงี้ยว เป็นเกจิอาจารย์ที่มีคาถาอาคมขลัง ลูกศิษย์มาก มีความรู้ทางไสยศาสตร์อย่างดี อยู่ยงคงกระพัน มีบ้านที่บ้านสันปูเลย ตำบลม่อนปิ่น ได้คบคิดกับพวก คิดการใหญ่ทำการกบฏ พระยามหิธวงษา นายอำเภอฝางทราบเรื่อง จึงรายงานไปเชียงใหม่ พอดีขณะนั้น ทางกองทัพไทยเพิ่งเริ่มจัดตั้งกองทหารแบบฝรั่ง แบบใหม่ขึ้น และได้ส่งกำลังทหาร มาประจำที่เชียงใหม่ด้วย ทางเชียงใหม่จึงให้ ร้อยโทชมเป็นผู้บังคับบัญชาทหารจำนวนหนึ่ง เดินทางขึ้นมาทำการปราบพวกกบฏ จับตัวพวกกบฏได้รวมทั้งส่างชื่นหัวหน้าด้วยจึงได้คุมตัวส่งฟ้องศาล ตามกระบิลเมือง
การตั้งชื่อว่าเมืองฝาง การตั้งชื่อเมืองแต่ก่อนนั้น มักจะตั้งตามชื่อลำน้ำ เช่นเชียงของ เพราะตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงหรือตั้งตามเหตุการณ์นิมิตร ที่เกิดขึ้นขณะสร้างเมือง ดังกล่าวในตำนานโยนก ถึงการสร้างเมืองโยนกนาคพันธ์ ของพระเจ้าสิงหนวัติกุมาร บางเมืองก็ตั้งนามเมืองตามชื่อผู้สร้าง แต่ชื่อเมืองฝางนั้น ในพงศาวดารโยนกกล่าวถึงการสร้างเมืองฝางของพระยาลาวจักรราชาธิราชว่า "ครั้นอยู่จำเนียรมาก ท่านจึงให้สร้างเมืองอีกแห่งหนึ่ง ที่รวมแม่น้ำใหญ่ อันไหลมาหนดวันตก เมืองนั้นยาวไปตามแม่น้ำ ทรงสันฐานดังฝักฝาง จึงได้ชื่อว่าเมืองฝางนี่เป็นการกล่าว ถึงการสร้างเมืองฝางของพระยาลาวจักร ผู้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง ซึ่งมาสร้างเมืองฝาง แต่ในตำนานชินกาลมาลินีปกรณ์ กล่าวถึงพรเจ้าเม็งรายมหาราช ผู้สืบสันติวงศ์จากพระยาลาวจักราช เกี่ยวกับการสร้างเมืองฝางของพระเจ้าเม็งรายว่า "ลุถึงศักราช 624 พระเจ้าเม็งรายมีพระชนม์ได้ 23 พรรษา ได้สร้างเมืองเชียงราย ต่อนั้นมาจนถึงศักราช 635 ได้สร้างกุสสนคร ซึ่งเสถียร พันธรังษี ผู้เรียบเรียงชินกาลมาลินี ได้อรรถาธิบายว่า กุสสนคร หมายถึงเมืองฟางข้าว เพราะกุสสหมายถึงฟางข้าว แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนไป เป็นเมืองฝาง สรุปเรื่องการตั้งเมืองฝาง สันนิษฐานว่า เมืองฝางเป็นเมืองรุ่นเก่าแก่โบราณ สร้างขึ้นสมัยเดียวกับเวียงกาหลวง อาณาจักร์ยวนเชียง รัฐใต้แห่งอ้ายลาว ประมาณ .590 และต่อมาก็มีการสร้างขึ้นอีกหลายครั้ง

1.พวกกล๋อมมาสร้างเมืองอุมงคเสลา  ที่ทรากเก่าเมืองฝาง
2. พระเจ้าพรหมมหาราช สร้างเวียงไชยปราการ  ที่ทรากเก่าเมืองอุมงคเสลา
3. เจ้าลาวจักเทวาธิราช สร้างเมืองฝาง ให้ลาวครัวกาวราชบุตร ไปครอง 4. พระเจ้าเม็งราย สร้างเมืองฝาง เพื่อเป็นเมืองฐานทัพไปตีหริภุญชัย 5. สมัยอาณาจักรลานนาไทย เมืองฝางมีสภาพเป็นเมืองใหญ่ฝ่ายเหนือ เช่นเดียวกับเชียงแสน 6. พระเจ้ากาวิโลรส ให้คนสนิท 2 คน มาสร้างเมืองฝาง ปี ..2424 จนบัดนี้


พระนามและชื่อผู้ปกครองเมืองฝาง
ต่อไปนี้เป็นพระนามและชื่อผู้มาครองเมืองฝาง

1. พาหิระกล๋อม ผู้สร้างเมืองอุมงคเสลา  ที่ทรากเก่าเมืองฝาง หลัง .590 
2. พระเจ้าพรหมมหาราช ประมาณ ปี 1661 - 1702 
3. พระเจ้าไชยศิริ ประมาณ ปี 1702 - 1731 
4. เจ้าลาวครัวกาว โอรสขุนลาวเคียง ไม่ทราบปี แต่จะประมาณ 1770 
5. พ่อขุนเม็งรายมหาราช ประมาณ ปี 1811 - 1860 
6. เจ้าพ่อท้าวน้ำท่วม ประมาณ ปี 1860 - 
7. เจ้าเท้ามหาพรหมราช ประมาณ ปี 1915 
8. เจ้าเท้าซ้อย ประมาณ ปี 1985 
9. พระยาหลวงทิพยเนตร ประมาณ ปี 2177 
10. แม่ทัพโป่เงี้ยว พะม่าให้รักษาเมือง ประมาณ ปี 2323 
11. พระยาสุรินทร์ ประมาณ ปี 2328 
12. สุระจอแทงโป่ นายกองทัพพะม่า มารักษาเมือง ประมาณ ปี 2334 
13. พระยาหลวงสุริโยยศ ประมาณ ปี 2424 - 2433 
14. มหาอำมาตย์เอกพระยามหิธวงษา นายอำเภอคนแรก ประมาณ ปี 1433 - 2450 
15. หลวงจิรเกษม ปี 2450 - 2452 
16. ขุนพิทักษ์หทัยเขต ปี 2452 - 2457 
17. ขุนพิทักษ์สุวรรณเขต ปี 2457 - 2460 
18. ขุนมัชดิษฐิการ ปี 2460 - 2462 
19. ขุนปราณีนรากร ปี 2462 - 2468 
20. พระระวังเวียงพิงค์ ปี 2468 - 2469 
21. หลวงบริภัณฑ์ธุระราษฎร์ ปี 2469 - 2432 
22. หลวงจงรักษ์ราชกิจ ปี 2432 - 2480 
23. หลวงเกษตรประชากร ปี 2480 - 2481 
24. พระทวีประสาสน์ ปี 2481 - 2481 
25. พระอนุบาลนิคมเขต ปี 2481 - 2482 
26. หลวงอนุมัติราชกิจ ปี 2482 - 2483 
27. หลวงพรภารการ ปี 2483 - 2485 
28. นายกมล สุทธนะ ปี 2485 - 2486 
29. นายทองสุข สุวัติถี ปี 2486 - 2489 
30. นายบุญศรี วิญญรัตน์ ปี 2489 - 2490 
31. นายประธาน โชติวรรณ ปี 2490 - 2492 
32. นายสมาส อมาตยกุล ปี 2492 - 2493 
33. ..แก้ว เนตรโยธิน ปี 2493 - 2496 
34. นายสุรจิต จันทรศัพท์ ปี 2496 - 2499 
35. . ผาด วัฒนพูน ปี 2499 - 2504 
36. นายธนวน สุวรรณศิริ ปี 2504 - 2508 
37. นายยง ภักดี ปี 2508 - 2514 
38. นายจรุง ภู่ประเสริฐ ปี 2514 - 2519 
39. .เพชร คุ้มสอน ปี 2519 - 2521 
40. .สุรศักดิ์ ตรีมงคล ปี 2521 - 2523 
41. นายจอม ขวัญดี ปี 2523 - ...
อ้างอิง:http://fangdailypost.blogspot.com/2013/12/blog-post.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น